ทำไมต้องปรับโครงสร้างการจัดการฟุตบอลระดับเยาวชนจากการระดมความคิดจากบุคลากรฟุตบอลทุกภาคส่วน จนได้แผนแม่บทพัฒนาฟุตบอลแห่งชาติ
ระยะยาว 20 ปี พบว่า ที่ผ่านมาการแข่งขันฟุตบอลเยาวชน มีปัญหาและอุปสรรคมากมาย อาทิ
- โปรแกรมการจัดการแข่งขันที่ทับซ้อนกัน
- นักกีฬาไม่สามารถมาเข้าร่วมการแข่งขันในทัวร์นาเมนท์ระดับนานาชาติได้
เพราะติดลงแข่งขันให้กับต้นสังกัด
- นักกีฬาระดับเยาวชนต้องลงแข่งขันมากเกินไป จนส่งผลกระทบต่อร่างกาย
- การพัฒนาที่ไม่เป็นระบบ เพราะต้องเดินสายแข่งขันตลอดทั้งปี
- ส่วนการแข่งขัน Thai Youth League หลังจากนี้ จะมีการวางโครงสร้างที่ชัดเจน
เพื่อให้ปัญหานี้หมดไป และทำให้ทุกอย่างเป็นระบบ ระเบียบมากยิ่งขึ้น
การเปลี่ยนแปลงโครงการฟุตบอลลีกเยาวชน หลังจากที่ทราบถึงปัญหาและอุปสรรค จึงนำมาสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง
ในการจัดการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนไทยใหม่ทั้งระบบ โดยการจัดการแข่งขันครั้งนี้
ได้รับความร่วมมือจากทั้ง 3 ฝ่าย ประกอบไปด้วย
- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กำหนดนโยบาย)
- การกีฬาแห่งประเทศไทย (สนับสนุนงบประมาณ)
- สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ดำเนินการจัดการแข่งขัน)
การจัดการแข่งขันมีทั้งหมดกี่รุ่นสำหรับการแข่งขันฟุตบอลลีกเยาวชนแห่งชาติ จะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 6 รุ่น ประกอบไปด้วย
รุ่นอายุไม่เกิน 10 ปี (เกิดหลัง 1 มกราคม พ.ศ.2554 / ค.ศ.2011)
รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี (เกิดหลัง 1 มกราคม พ.ศ.2552 / ค.ศ.2009)
รุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี (เกิดหลัง 1 มกราคม พ.ศ.2550 / ค.ศ.2007)
รุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี (เกิดหลัง 1 มกราคม พ.ศ.2548 / ค.ศ.2005)
รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี (เกิดหลัง 1 มกราคม พ.ศ.2546 / ค.ศ.2003)
รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี (เกิดหลัง 1 มกราคม
พ.ศ.2542 / ค.ศ.1999) *ไม่ตรงกับในภาพ*
เป้าหมายของแต่ละรุ่นตามแผนแม่บทพัฒนาฟุตบอลแห่งชาติระยะยาว 20 ปี โดยสมาคมฯ
ได้เล็งเห็นถึงการวางกลยุทธ์ มีหลักคิดและจุดประสงค์ในการจัดการแข่งขัน
ในแต่ละรุ่นอายุอย่างละเอียด โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง คือ ช่วงวัยเรียนรู้ วัยพัฒนา
และวัยที่ต้องแสดงศักยภาพเพื่อความเป็นเลิศ แต่ละรุ่นก็จะมีเป้าหมายแตกต่างกันออกไป
โดยในส่วนของรุ่นอายุไม่เกิน 10 และ 12 ปี จะเน้นที่การพัฒนาเป็นหลัก
เพื่อให้ฟุตบอลระดับรากหญ้ามีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังจะเป็นเวที
ที่ทำให้เด็กได้แสดงออกในกีฬาฟุตบอล พร้อมทั้งมีจำนวนแมตช์การแข่งขัน
ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาของเด็ก
ในส่วนของรุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี และ 16 ปี ก็จะเป็นการแข่งขันเพื่อยกระดับ
ทักษะฟุตบอลของตัวเอง เพื่อให้เตรียมตัวพร้อมสำหรับการแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติ
และเป็นเวทีคัดเลือกสรรหานักฟุตบอลให้ได้รับโอกาสติดทีมชาติไทยรุ่นเยาวชน
ในการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติ
ขณะที่รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี และ 21 ปี คือรุ่นที่เน้นเรื่องของการเตรียมพร้อม
ยกระดับจากนักฟุตบอลเยาวชนสู่การเป็นนักฟุตบอลอาชีพ ที่จะทำให้เด็กบางส่วน
ที่ยังไม่ได้รับโอกาสในฟุตบอลอาชีพ ได้มีเวที ที่พัฒนาฝีเท้าของตัวเองอย่างต่อเนื่อง
และเป็นเวทีคัดเลือกให้เด็กไปรับใช้ทีมชาติในการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติ
รายการต่างๆ ทั้งชิงแชมป์อาเซียน, ชิงแชมป์เอเชีย รวมถึงในมหกรรมซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ เป็นต้น
การวางกฎระเบียบทางฝ่ายจัดการแข่งขัน ได้นำกฏ ระเบียบและข้อบังคับของสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย
มาปรับใช้ เพื่อให้การแข่งขันเป็นไปตามมาตรฐานสากล และสอดคล้อง
กับแผนการพัฒนาทีมฟุตบอลทีมชาติไทยมากที่สุด หลังจากที่ผ่านมา
ปัญหาหลักของทีมชาติชุดเยาวชน คือการที่การแข่งขันฟุตบอลในประเทศ
มีช่วงเวลาที่ทับซ้อนกับการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติ
การพัฒนาในส่วนของบุคคลากรแวดล้อมนักกีฬาในการแข่งขันฟุตบอล ไทย ยูธ ลีก นอกจากจะจัดขึ้นเพื่อพัฒนานักกีฬาฟุตบอลแล้ว
ในส่วนอื่นๆ ก็ประกอบไปด้วยการพัฒนา ฝ่ายจัดการแข่งขัน ทั้งในส่วนของ
ผู้ควบคุมการแข่งขัน, ผู้ประเมินผู้ตัดสิน รวมถึง ในระดับ สตาฟฟ์โค้ช และ ผู้ตัดสิน
เพื่อให้มีความพร้อมทั้งในส่วนของปริมาณ และคุณภาพ
ตอบสนอง ต่อการพัฒนาฟุตบอลอาชีพต่อเนื่องในอนาคต
ช่วงเวลาการแข่งขันสำหรับช่วงเวลาการแข่งขัน จะจัดขึ้นในช่วงกลางปี และจะพยายามจัดการแข่งขัน
เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับโปรแกรมการแข่งขันของทีมชาติ
เพื่อให้นักกีฬาได้แสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ทั้งกับ สโมสร และ ทีมชาติ
ทีมที่ร่วมการแข่งขันสำหรับทีมที่ร่วมการแข่งขัน ได้ จะประกอบไปด้วย
- สโมสรฟุตบอลที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ
- ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอล ไทยลีก 1, ไทยลีก 2 และ ทีมสมาคมกีฬาแห่งจังหวัด
- ในส่วนของรุ่นอายุไม่เกิน 10 และ 12 ปี จะเป็นอคาเดมีที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคม

ที่มา แฟนเพจ Fair https://web.facebook.com/cometogether2017