THE MEERKAT อยากจะลองขอนำเสนอไอเดีย ในเชิงกายภาพ
ของส่วนหนึ่งของการปรับปรุง " บ้าน " ที่ใช้ในการแข่งขันที่อาจจะทำให้เรา
ได้เปรียบคู่แข่ง และอาจจะทำให้ฝันของคนไทยเป็นจริงได้
ในการเข้าร่วมฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในปี 2026นี้
โดยการเลือกปรับปรุง " สนามศุภชลาศัย " ให้กลายเป็นสนามที่น่าเกรงขามของคู่แข่ง
และเปลี่ยนแฟนบอลไทยในสนาม ให้กลายเป็นผู้เล่นคนที่ 12 ของทีมชาติไทย
แนวความคิดในการปรับปรุงสนามศุภชลาศัย เกิดจากความต้องการที่อยากให้สนามฟุตบอลประจำชาติ มีที่นั่งหรืออัฒจันทร์ของแฟนบอล
อยู่ใกล้กับขอบสนามมากที่สุด โดยปราศจากลู่วิ่งมาคั่น
(เพื่อสามารถให้เสียงเชียร์ให้กำลังใจ หรือกดดันผู้เล่นฝั่งตรงข้ามได้โดยตรง)
จึงเป็นเหตุผลที่นำเสนอการปรับระดับของผิวสนาม ให้อยู่ต่ำกว่าระดับดินเดิมลงไป
เพื่อที่จะสร้างอัฒจันทร์เพิ่มในวงด้านใน โดยที่ยังสามารถรักษาสภาพสนามเดิมโดยรอบที่สร้างมากว่า 80ปี
ให้ยังคงอยู่ และมีรายละเอียดในส่วนต่างๆ ตั้งแต่ด้านล่างถึงด้านบนดังนี้
A: Underground Reservoir / อ่างรับน้ำใต้ดิน ( 250ล้านบาท )อ่างรับน้ำใต้ดิน : เนื่องจากตัวระดับพื้นสนามใหม่ มีระดับต่ำกว่าเดิมกว่า 15เมตร
ดังนั้นระบบรองรับน้ำเป็นเรื่องสำคัญ ตัวอ่างรับน้ำใต้ดินนี้จึงออกแบบให้สามารถรองรับน้ำ
ได้มากถึง 100,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งนอกจากจะใช้สำหรับภายในตัวสนามเองแล้ว
ยังสามารถช่วยแบ่งเบาภาระการรับน้ำของพื้นที่โดยรอบได้อีกบางส่วนด้วย
โดยโครงสร้างเป็นเสาคอนกรีตรองรับน้ำหนัก และกำแพงคอนกรีตใต้ดินโดยรอบ
ระบบระบายน้ำ : มีปั้มน้ำขนาดใหญ่ 6ตัว เพื่อสูบน้ำกลับเข้าสู่ระบบระบายน้ำปกติ
รวมไปถึงการใช้น้ำเพื่อใช้งานกับตัวสนามและอาคารด้วย
B: Underground Expansion & Upgrade / การปรับปรุงและขยายอัฒจันทร์ในระดับต่ำกว่าผิวดิน ( 1,400ล้านบาท )ตัวสนาม : ปรับขนาดให้มีระยะความยาวสนามสั้นลง
ทำให้สนามมีความกว้าง x ยาว เท่ากับ 67 x 100 เมตร เท่ากับสนาม Highbury สนามเก่าของสโมสร Arsenal
เพื่อกระชับพื้นที่ให้เหมาะกับทีมไทย และคนไทย ซี่งถนัดในการเล่นบอลโต๊ะเล็ก
ที่เน้นการต่อช่องเล่นบอลบนพื้น มากกว่าการเล่นบอลแบบโยนยาว
อัฒจันทร์ใหม่ : ต่อเติมในพื้นที่ของลู่วิ่งเดิม เพื่อให้แฟนบอลได้อยู่ใกล้ชิดขอบสนามมากที่สุด
โดยส่วนนี้สามารถรองรับความจุได้เพิ่มอีก 22,000ที่นั่ง และในส่วนด้านหลังประตู
จะเป็นอัฒจันทร์เฉพาะของกลุ่มแฟนบอล Ultras Thailand ที่ขึ้นชื่อในการเชียร์แบบถึงไหนถึงกันอีกด้วย
VIP Boxes : การเพิ่มห้อง VIP เพื่อการเชียร์แบบ Luxury มีทั้งหมดสองชั้น กว่า 200ห้อง
ในความจุรวมกว่า 3,000คน นอกจากจะให้ความสะดวกสบายกับเหล่ากองเชียร์กระเป๋าหนักแล้ว
ยังเป็นการสร้างรายได้อีกทางให้กับทางสมาคมฟุตบอลฯอีกด้วย
การปรับปรุงชั้น Ground Floor : เป็นการปรับปรุงทางด้านการฟังก์ชั่นต่างๆ
โดยออกแบบและตกแต่งให้มีความทันสมัยและสวยงาม โดยมีการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยอย่างเช่น
คาเฟ่, บาร์, ร้านอาหาร, ห้องน้ำ, Mega Store ของทีมชาติไทย, ห้องประชุม,
หรือแม้แต่ยิมหรือส่วนออกกำลังกายต่างๆ และส่วนอื่นๆอีกมากมาย
C: Existing Stand / การต่อเติมและปรับปรุงอัฒจันทร์เดิม ( 350ล้านบาท )หอคอยคู่ด้านทิศใต้ (New South Towers) : เป็นการสร้างหอคอยใหม่ให้เหมือนกับหอคอย
เดิมด้านทิศเหนือเพื่อให้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเดียวกัน จุดประสงค์เพื่อใช้เป็นเสาหลักสำหรับ
เป็นฐานของจุดรับน้ำหนักของโครงเหล็กถักหลังคาขนาดใหญ่ด้านบน
หอคอยคู่เดิมด้านทิศเหนือ : ทำการเสริมโครงสร้างและฐานราก เพื่อให้สามารถรองรับโครงเหล็กถัก
หลังคาเช่นเดียวกันกับด้านทิศใต้ แต่ยังคงทำหน้าที่เป็นช่องทางในการขนอุปกรณ์ขนาดใหญ่เข้าสู่สนามเหมือนเดิม
หลังคาอัฒจันทร์เดิม : รื้อออกให้เหมือนกับฝั่งอัฒจันทร์ดานทิศตะวันออก
D: Solar Panel & Sound Reflection Roof / แผงหลังคาโซล่าร์เซลล์และแผ่นสะท้อนเสียง ( 600ล้านบาท )แผงโซล่าร์เซลล์ : เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน และค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคที่ใช้ในสนาม
จึงทำการติดตั้งแผงโซล่าร์ แบบปรับมุมได้ ในส่วนของพื้นที่หลังคาที่มี 20,000กว่าตารางเมตร
ซึ่งอาจจะสามารถผลิตไฟได้ถึง 7,000 MWh ต่อปี
แผ่นสะท้อนเสียง : ส่วนนึงที่สำคัญที่สุดของโครงการ คือการที่รวบรวมเสียงเชียร์ของแฟนบอล
ผ่านแผ่นสะท้อนเสียงแบบพิเศษที่ปรับมุมให้ให้ทิศทางของเสียงมุ่งไปสู่พื้นที่ของสนาม
โดยออกแบบให้สามารถทำเสียงให้มีความดังได้ถึง 137 เดซิเบล เทียบเท่าสนาม
ที่เป็นเจ้าของสถิติเสียงเชียร์ที่ดังที่สุดอย่างสนาม CenturyLink Field ของทีม Seahawks
ที่เมือง Seattle สหรัฐอเมริกา และทำให้แฟนบอลเป็นผู้เล่นคนที่ 12 ของทีมชาติไทยได้อย่างแท้จริง
E: Wide Span Super Truss / โครงเหล็กถักขนาดใหญ่ช่วงพาดยาว ( 400ล้านบาท )โครงถักเหล็กหลัก : ได้รับอิทธิพลในการออกแบบจากสนาม San Siro ของเมือง Milan
ที่ใช้ในการต่อเติมสนามเดิมที่ไม่มีหลังคา โดยใช้โครงถักเหล็กขนาดใหญ่ช่วงพาดยาว
รับน้ำหนักโดยจุดแค่ 4จุดตรงหอคอยด้านทิศต่างๆของอาคาร เพื่อให้ไม่กระทบกับรูปแบบของอาคารเดิม
และสามารถต่อเติมส่วนของหลังคาเพิ่มได้อย่างรวดเร็ว
โครงถักเหล็กรอง : เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แบ่งการรับแรงจากโครงถักหลัก
โดยกระจายโครงสร้างไปในพื้นที่เกือบทั่วทั้งอาคาร จะเว้นแค่ส่วนของสนามตรงกลางเท่านั้น
ส่วนตกแต่งประติมากรรมไทย : มีการใช้ประติมากรรมไทยจำพวก ยักษ์ หรือปีศาจในวรรณคดี
มาตกแต่งโดยรอบช่องตรงกลาง ที่เว้นไว้อยู่เหนือพื้นที่กลางสนาม เพื่อข่มขวัญคู่ต่อสู้ และเพิ่มขวัญกำลังใจ
รวมไปถึงเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ทางด้านโชคลาง(ขอหน่อยนึง)ให้ทีมชาติไทยอีกด้วย
จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนั้น เราอาจจะต้องใช้เวลาก่อสร้างภายในระยะเวลาไม่เกิน 4ปี
เพื่อให้สนามสามารถใช้งานได้ทันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกรอบที่ 3 ที่คาดว่าจะเริ่มในปี 2024
และอาจจะต้องใช้งบประมาณทั้งสิ้นกว่า 3,000ล้านบาท โดยจะแบ่งเป็น
งบผูกพันของกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา 4ปี ปีละ 400 ล้านบาท รวม 1,600ล้านบาท
งบผูกพันของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย 4ปี ปีละ 150ล้านบาท รวม 600ล้านบาท
เงินกองทุนจากภาคเอกชน 500 ล้านบาท
ผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของทีมชาติ 300ล้านบาทเราไม่เคยหมดหวังกับการทำความฝันให้เป็นจริง แต่เราก็ไม่ควรปล่อยให้มีแต่ความหวังเช่นกัน
เราแค่ต้องคิดให้มากขึ้นในทุกรายละเอียด ทำทุกอย่าง ทำทุกทาง ทำทุกเวลาให้ดีที่สุด
ฟุตบอลสำหรับคนไทยไม่ใช่แค่กีฬา แต่คือครอบครัว คือสปิริต คือสิ่งที่ร้อยเรียงสังคมที่แตกแยกเข้าด้วยกัน
จริงอยู่ที่การลงทุนทุกอย่างล้วนต้องการจุดคุ้มทุน แต่ความสุขของคนไทยมีจุดคุ้มทุนรึเปล่า
ไม่แน่ใจ
Original 3D Model Credit: Kaew
Developed 3D Model Credit: Studio Arnatta Co.,Ltd.
https://www.facebook.com/TheMeerkatTH/เข้าไปอ่านทั้งหมดได้ที่ เพจ : THE MEERKAT (ผมcopyมาไม่หมด***)