FIFA.comเปิดฉากกันไปแล้วสำหรับการแข่งขัน ฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 17 ปี รอบสุดท้าย ซึ่งจะทำการแข่งขันกันตั้งแต่วันที่ 6-28 ตุลาคม 2017
โดยประเทศอินเดียได้รับคัดเลือกให้ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพหนนี้ จากการตัดสินของฟีฟ่า เหนือประเทศคู่แข่งอย่าง อาเซอร์ไบจาน , ไอร์แลนด์
และอุซเบกิสถาน การแข่งขันคราวนี้มีทีมร่วมแข่งทั้งหมด 24 ทีม โดยรอบแรกจะถูกแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มๆละ 4 ทีม ใช้สนามแข่งขันทั้งสิ้น 6 สนาม
จาก 6 เมือง แต่ละสนามมีประวัติและความเป็นมา หน้าตารูปร่างลักษณะอย่างไร มีความจุเท่าไหร่ และจะใช้แข่งขันทั้งหมดกี่เกม มาชมกันเลย
หมายเหตุ : บทความนี้แปลเนื้อหาภาษาอังกฤษมาจากเว็บ FIFA.com หากผิดพลาดต้องขออภัย
ที่มา : http://www.fifa.com/u17worldcup/destination/stadiums/stadium=5007979/index.htmlแปลและเรียบเรียงโดย : Nipp๏n | 10-10-2017Jawaharlal Nehru Stadium (JLNS) , New Delhi | ความจุ : 58,000กลุ่ม A : อินเดีย , สหรัฐอเมริกา , โคลอมเบีย , กาน่า | รอบแบ่งกลุ่ม A+B (5+1) , รอบ 16 ทีม (2)
WildFilmsIndia
hindustantimesสนามกีฬา ชวาหะร์ลาล เนห์รู ถูกตั้งชื่อตาม นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย หลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 17 ปี
เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของอินเดีย และเป็นอันดับ 51 ของโลก ถูกสร้างขึ้นในปี 1982 เพื่อรองรับ กีฬาเอเชี่ยนเกมส์
และได้รับการปรับปรุงใหม่อย่างสมบูรณ์สำหรับ คอมมอนเวลธ์ เกมส์ 2010 (การแข่งขันกีฬาในเครือจักรภพอังกฤษ) นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าภาพ
จัดการแข่งขันชิงแชมป์กรีฑาเอเชียในปี 1989 มาแล้วด้วย
การออกแบบนั้นคล้ายคลึงกับ สนามกีฬา ฝอซาน ในประเทศจีน ซึ่งสร้างจากนักออกแบบคนเดียวกัน สิ่งสำคัญคือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
สามารถอพยพผู้คนออกจากสนามได้ภายใน 6 นาที ตั้งอยู่ในบริเวณ "Phoota Gumbad" ที่เชื่อกันว่าเป็นสุสานแห่งราชวงศ์ Tughlaq Dynasty
(ราชวงศ์มุสลิมแห่งอินเดีย) เป็นอนุสาวรีย์ที่อยู่มานานกว่า 7 ศตวรรษ และได้รับการรักษาไว้เพื่อลูกหลานเนื่องจากมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
Dr. DY Patil Sports Stadium , Navi Mumbai | ความจุ : 51,000กลุ่ม B : ปารากวัย , มาลี , นิวซีแลนด์ , ตุรกี | รอบแบ่งกลุ่ม B+A (5+1) , รอบ 16 ทีม (1) , รอบรองชนะเลิศ (1)
facebook.com/DYPatilSportsStadium
facebook.com/DYPatilSportsStadiumสนามกีฬา Dr. DY Patil Sports Stadium เป็นสนามฟุตบอลและสนามคริกเก็ตใน นาวี มุมไบ แห่งรัฐมหาราษฏระ เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อ
วันที่ 4 มีนาคม ปี 2008 มีชื่อเสียงทางด้านสิ่งอำนวยความสะดวกระดับโลก ที่ได้รับการออกแบบโดย Hafeez Contractor ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งใน
สถาปนิกชั้นนำของอินเดีย ใช้สำหรับการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ คริกเก็ต อินเดียน พรีเมียร์ลีก 2008 รวมทั้ง ฟุตบอล อินเดียน ซูเปอร์ลีก 2014
คุณลักษณะเฉพาะของสนามคือ หลังคาปีกนกนางนวล จะช่วยให้ผู้ชมมองเห็นสนามจากทุกมุมมองโดยไม่ถูกบดบัง โดยหลังคาสนามนั้น
ทำจากผ้าที่นำเข้าจากเยอรมนี ซึ่งถือเป็นหลังคาผ้าที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของอินเดีย แถมเสากระโดงยังสูงที่สุดในประเทศและให้แสงสว่าง
ที่ยอดเยี่ยมทั่วพื้นสนาม ตั้งชื่อตาม Dr. DY Patil นักการเมือง อดีตผู้ว่าการรัฐตริปุระ ช่วงปี 2009-2012 รัฐพิหาร ระหว่างปี 2012-2014
หนึ่งในผู้นำของพรรคสภาแห่งชาติอินเดียในรัฐมหาราษฏระ ที่ได้รับรางวัล Padma Shri ซึ่งเป็นรางวัลพลเรือนสูงสุดอันดับ 4 ของอินเดีย ในปี 1991
Pandit Jawaharlal Nehru Stadium (PJN) , Goa | ความจุ : 19,000กลุ่ม C : อิหร่าน , กินี , เยอรมนี , คอสตาริกา | รอบแบ่งกลุ่ม C+D (5+1) , รอบ 16 ทีม (2) , รอบ 8 ทีม (1)
sportskeeda
FIFA.comสนามกีฬา Fatorda ในรัฐกัว เป็น 1 ใน 3 ของสนามฟุตบอลโลก ฟีฟ่า ยู-17 ที่อินเดีย หนนี้ โดยใช้ชื่อว่า ชวาหะร์ลาล เนห์รู ตามชื่อของ
นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย (1947-1964) เช่นเดียวกับที่โคจิและนิวเดลี ถือเป็นหนึ่งในเมืองที่สำคัญทางการเมือง หลังมีการต่อสู้เพื่อเอกราช
The Pandit คือชื่อเดิมของ Goa Stadium ที่มีรากเหง้ามาจากแคชเมียร์ บัณฑิต ซึ่งเป็นชุมชนพราหมณ์ ตั้งอยู่ในเมือง Margao
สนามแห่งนี้เปิดตัวเมื่อปี 1989 และได้รับการปรับปรุงในปี 2014 เพื่อรองรับ ลูโซโฟนี เกมส์ (การแข่งขันกีฬาในกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาโปรตุเกส)
ซึ่งจัดขึ้นทุก 3 ปี ปัจจุบันเป็นรังเหย้าของ FC Goa เป็นสนามหลักของเจ้าภาพอินเดีย ที่ใช้ในการแข่งขันมากมายในรอบคัดเลือก ทั้งฟุตบอลโลก
และ เอเอฟซี เอเชี่ยน คัพ รวมถึงฟุตบอลเยาวชน ชิงแชมป์เอเชียรุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี รอบสุดท้าย ช่วงเดือน ก.ย. ถึง ต.ค. ปีที่ผ่านมาแล้วด้วย
เพื่อหาทีมตัวแทนโซนเอเชีย มาแข่งขันในฟุตบอลเยาวชนโลก ฟีฟ่า ยู-17 หนนี้
Jawaharlal Nehru International Stadium (JNI) , Kochi | ความจุ : 55,000กลุ่ม D : เกาหลีเหนือ , ไนเจอร์ , บราซิล , สเปน | รอบแบ่งกลุ่ม D+C (5+1) , รอบ 16 ทีม (1) , รอบ 8 ทีม (1)
ernakulam.metromalayali.in
FIFA.comสนามกีฬาอเนกประสงค์ที่ตั้งอยู่ในเมืองโคชิ รัฐเกรละ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า Kaloor Stadium สร้างขึ้นเมื่อปี 1996 เป็น 1 ใน 3 สนาม
ที่ใช้ชื่อตามนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย ชวาหะร์ลาล เนห์รู , สถาปัตยกรรมของสนามกีฬาแห่งนี้มีความโดดเด่นด้วยเสาขนาดใหญ่
โค้งพาดไปทั่วพื้นดิน ทำให้มีลักษณะเหมือนเตาเผา รวมถึงสามารถรองรับผู้ชมได้เป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นหนึ่งในสนามที่จะมีเสียงเชียร์ที่อื้ออึง
และดังที่สุดในโลก อาคารส่องสว่างของสปอร์ตไลท์ที่อยู่ทั้งสองฝั่งของสนาม กำลังไฟ 2 กิโลวัตต์ เป็นโครงสร้างของหอคอยแบบหนึ่งในอินเดีย
ใช้เป็นรังเหย้าของ Kerala Blasters ,บลาสเตอร์ส ถือเป็นหนึ่งในแฟนบอลที่ดีที่สุด ใน อินเดียน ซูเปอร์ลีก ผู้คนแห่งรัฐเกรละ มีความหลงไหล
ในเกมฟุตบอล โดยมีค่าเฉลี่ยแฟนบอลในสนามมากกว่า 47,000 คน ซึ่งถือว่าสูงมากสำหรับทีมฟุตบอลที่ไม่ได้แข่งขันอยู่ในลีกในยุโรป
เมืองโคชิ ขนาบข้างด้วยทิวเขา Western Ghats ทางทิศตะวันออก และทะเลอาหรับทางทิศตะวันตก นับเป็นสถานที่ที่สวยงามในการเล่นฟุตบอล
Indira Gandhi Athletic International Stadium (IGAI) , Guwahati | ความจุ : 30,000กลุ่ม E : ฮอนดูรัส , ญี่ปุ่น , นิวแคลิโดเนีย , ฝรั่งเศส | รอบแบ่งกลุ่ม E+F (5+1) , รอบ 16 ทีม (1) , รอบ 8 ทีม (1) , รอบรองชนะเลิศ (1)
footballtripper
hindustantimesสนามกีฬานานาชาติ อินทิรา คานธี ตั้งอยู่ในกุวาฮาติ เมืองหลวงแห่งรัฐอัสสัม เป็นรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีเขตติดต่อที่รายล้อมไปด้วยรัฐทั้งเจ็ด
ได้แก่ อรุณาจัลประเทศ, นาคาแลนด์, มณีปุระ, มิโซรัม, ตริปุระ, เมฆาลัย และรัฐเบงกอลตะวันตก, จึงเหมาะสมที่สุดที่จะเป็นรังเหย้าของทีม
NorthEast United ในอินเดียน ซูเปอร์ลีก ที่มีชื่อตรงตัวแสดงถึงความภาคภูมิใจใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ
ส่วนใหญ่ใช้สำหรับแข่งขันฟุตบอลและกรีฑา เคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 33 ของประเทศอินเดีย รวมถึงเคยได้รับเป็นเจ้าภาพ
กีฬาภูมิภาคเอเชียใต้ในปี 2016 โดยสนามได้รับเงินบรรณาธิการจาก อินทิรา คานธี นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรกและคนเดียว
ที่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของอินเดีย
Vivekananda Yuba Bharati Krirangan (VYBK) , Kolkata | ความจุ : 85,000กลุ่ม F : อิรัก , เม็กซิโก , ชิลี , อังกฤษ | รอบแบ่งกลุ่ม F+E (5+1) , รอบ 16 ทีม (1) , รอบ 8 ทีม (1) , รองชิงอันดับ 3 (1) และรอบชิงชนะเลิศ (1)
StreamOn
FIFA.comสนามกีฬา Vivekananda Yuba Bharati Krirangan แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่เมืองซอลต์เลก ได้รับการตั้งชื่อตาม สวามี วิเวกานันทะ นักปรัชญาชาวอินเดีย
ที่มีอิทธิพลสูงที่สุดในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา วันคล้ายวันเกิดของเขายังถือเป็นวันเยาวชนแห่งชาติอีกด้วย Vivekananda Yuba Bharati Krirangan
มาจากภาษาเบงกาลี หมายถึง สนามกีฬาเยาวชนอินเดีย วิเวกานันทะ เป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ก่อนที่จะมีการปรับปรุงใหม่ในปี 2011
เดิมมีที่นั่งรองรับได้ถึง 120,000 และเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก สถิติการเข้าร่วม 131,000 คน ถูกบันทึกไว้ในปี 1997
ในการแข่งขัน โกลกาตา ดาร์บี้แมตช์ ระหว่าง Mohun Bagan พบ East Bengal
สนามกีฬาครอบคลุมพื้นที่ 76.40 เอเคอร์ (309,200 ตร.ม.) เปิดตัวในเดือน ม.ค. 1984 กับการแข่งขันฟุตบอลทัวนาเมนท์ รายการ
Jawaharlal Nehru International Gold Cup , สนาม Salt Lake เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันระหว่างประเทศที่สำคัญหลายครั้ง เช่นการแข่งขันฟุตบอล
Pre-World Cup Tournament ปี 1985 , ซูเปอร์-ซ็อกเกอร์ ในปี 1986, 1989, 1991 และ 1994, กีฬาภูมิภาคเอเชียใต้ ครั้งที่ 3 ปี 1987
ใช้ในการแข่งขันนัดกระชับมิตร ระหว่างอาร์เจนตินา กับ เวเนซุเอลา ในปี 2011 นอกจากนี้ยังได้จัดการแข่งขันนัดอำลาสโมสรอย่างเป็นทางการ
ของโอลิเวอร์ คานน์ ในเกมกระชับมิตร ระหว่าง บาเยิร์น มิวนิก กับ โมฮัน บากัน
------------------------------------------------------------------------------------
ชมสภาพสนามในวันแข่งขันจริงได้จาก Match Highlightsกลุ่ม A : อินเดีย v สหรัฐอเมริกา :
Jawaharlal Nehru Stadium
กลุ่ม B : ปารากวัย v มาลี :
Dr. DY Patil Sports Stadium
กลุ่ม C : เยอรมนี v คอสตาริกา :
Pandit Jawaharlal Nehru Stadium
กลุ่ม D : บราซิล v สเปน :
Jawaharlal Nehru International Stadium
กลุ่ม E : ฮอนดูรัส v ญี่ปุ่น :
Indira Gandhi Athletic International Stadium
กลุ่ม F : ชิลี v อังกฤษ :
Vivekananda Yuba Bharati Krirangan
หรือชมไฮไลท์ทั้งหมดของคู่อื่นๆได้ จากลิงค์ด้านล่างนี้
http://www.fifa.com/u17worldcup/videos/highlights/index.html