TheFootball
|
ท่องเที่ยว กีฬา อาหาร และการถ่ายภาพ ที่นี่ครับ มีรูปเพียบ http://www.jjnow.comhttp://pantip.com/topic/30398888http://www.facebook.com/media/set/?set=a.634656273227062.1073741851.100000480858626&type=3สะพายกล้องท่องเชียงราย http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=152735.0http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=153347.0http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=290796.0ยุ่งล่ะ แฟนบอลจองตั๋วเดินทางไปดู เชียงราย - ศรีสะเกษ โปรแกรมการแข่งขันอาจจะยกเลิก http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=290304.0สืบเนื่องจากกระทู้นี้ ถามแฟนๆ เชียงราย จากสนามบินเข้าเมือง ช็อปสโมสร และรถเช่าครับ http://www.chiangrai-united.com/board/index.php?topic=3370.0http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=150867.0http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=152735.0จนมาถึงที่นี่ http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E10186601/E10186601.htmlhttp://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E10189624/E10189624.htmlhttp://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E10198826/E10198826.htmlhttp://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E10204379/E10204379.htmlขอบคุณแฟนคลับเชียงรายทุกท่านด้วยครับ ที่ต้อนรับและช่วยเหลือผมอย่างมิตรไมตรี คุณเอก คุณแบ็งค์ คุณคม คุณไนซ์ คุณปาร์ตี้ และอีกหลายๆ ท่านที่ไม่ได้เอ่ยนาม ขอบคุณอีกครั้งจากใจครับ สำหรับท่านที่จะลงเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวเชียงรายของท่าน ช่วยกรุณาไปตั้งกระทู้ใหม่เองนะครับ เพราะเกรงว่าจะทำให้กระทู้นี้ยาวเกินไป และแฟนคลับที่เข้ามาอ่านจะสับสนน่ะครับ เพราะเรื่องราวจะวกไปวนมา จับไม่ถูก ว่าของใครกันแน่ แฟนคลับบอกมาอย่างนั้น
เชียงรายรำลึก- สุริยัน บุญยศ ..ณ ราตรีหนึ่ง ซึ่งยังฝังใจ เชียงรายฟ้าแจ่ม คืนนั้นวาวแวม ด้วยแสงจันทรา นภาสดใส ริมน้ำกกเย็น ด้วยลมพริ้วผ่าน ซ่านซึมผิวกาย คืนนั้นเชียงราย มีเธอและฉัน ร่วมสัมพันธ์ไม่คลาย หนาวเย็นลมยิ่ง เราอิงซบกัน ดวงจันทร์คล้อยต่ำ คืนนั้นยังจำ ริมน้ำราตรี ที่มีจันทร์ฉาย ไฉนมาลืม รักเราเคยสร้าง ริมฝั่งเชียงราย เมื่อคืนเดือนหงาย นิยายสวาท บาดหัวใจไม่ลืม (ดนตรี....) หนาวเย็นลมยิ่ง เราอิงซบกัน ดวงจันทร์คล้อยต่ำ คืนนั้นยังจำ ริมน้ำราตรี ที่มีจันทร์ฉาย ไฉนมาลืม รักเราเคยสร้าง ริมฝั่งเชียงราย เมื่อคืนเดือนหงาย นิยายสวาท บาดหัวใจไม่ลืม.. ------------------------------ เชียงรายรำลึก ต้นฉบับ เสียงร้องโดย อุทัย วงค์วาลย์ เพลงนี้แต่งขึ้นประมาณปี 2507-2508 โดยอ.โกวิท เกิดศิริ เป็นคนพื้นเพ จ.พัทลุง แล้วมาอยู่ที่จ.เชียงราย ร่วมเล่นดนตรีกับวงดนตรีของ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ มักจะเล่นตามห้องอาหาร ไนท์คลับ และตามงานเลี้ยงต่างๆ เพลงนี้อ.โกวิท แต่งให้หญิงสาวผู้เป็นที่รัก ว่ากันว่าเป็นนางพยาบาลที่ทำงานอยู่โรงพยาบาลเชียงรายฯ นั่นเอง แต่ทว่า ความรักไม่สมหวัง เนื่องจากผู้ใหญ่ทางด้านฝ่ายหญิง เห็นว่า อ.โกวิทเป็นเพียงนักดนตรี เต้นกินรำกิน เป็นอาชีพที่ไม่มั่นคง จึงไม่ยินยอมให้คนทั้งคู่คบกัน เมื่อแต่งเสร็จแล้วก็ให้คุณอุทัย วงค์วาลย์เป็นผู้ขับร้อง ต่อมาสุริยัน สมยศได้มาฟังแล้ว เกิดชอบใจ จึงขอซื้อเพลงนี้ในราคา 3,000 บาท นำไปบันทึกเสียงเป็นครั้งแรก ประมาณปี 2520 เพลงนี้จึงเป็นที่รู้จักกัน และมีนักร้องหลายท่าน ได้นำไปขับร้อง จนกลายเป็นบทเพลงอมตะจนถึงทุกวันนี้ ------------------------------ แต่จะชอบเพลง "เชียงรายรำลึก" มากกว่า เพราะทำให้นึกถึงความหลัง เมื่อประมาณ พ.ศ.2518-2519 ที่ผมกับเจ้าหน้าที่สภาพัฒน์กลุ่มหนึ่งออกตระเวนหาข้อมูลในพื้นที่ชนบททั่วประเทศเคยไปนั่งที่ร้านอาหารริมฝั่งแม่น้ำกก ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็น ฟังวงดนตรีของร้านอาหารบรรเลงเพลงนี้อย่างไพเราะเพราะพริ้งมาแล้ว ช่วงนั้น เพลง "เชียงรายรำลึก" ยังไม่โด่งดังระดับชาติ ผมฟังแล้วยังบอกเพื่อนๆว่าเพลงนี้ไพเราะมากๆ น่าจะโด่งดังไปได้ทั่วประเทศถ้ามีนักร้องดังๆ นำไปร้องที่กรุงเทพมหานครพวกผมใช้เวลาตระเวนเชียงรายอยู่หลายวันและไปตะลุยหลายครั้ง... นอกจากจะประทับใจกับเพลง "เชียงรายรำลึก" แล้ว ผมยังประทับใจกับ "กุ้งเต้น" อาหารรสแซบแกล้มเหล้าที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร กุ้งเต้นเชียงรายนั้น กระโดดโลดเต้นจริงๆครับ ไม่เหมือนกุ้งเต้นปทุมธานี ซึ่งนอนแอ้งแม้งอยู่ในจาน มิได้กระโดดโลดเต้นแต่ประการใดคนเชียงรายเขาจะใช้กุ้งแม่น้ำกกตัวเล็กๆแบบกุ้งฝอยตัวเป็นๆ ลงใส่ จานใบใหญ่ มีฝาครอบมาด้วย เสร็จแล้วเขาก็จะบีบมะนาว พร้อมใส่พริกใส่เกลือใส่น้ำปลา ลงไปบนตัวกุ้งฝอย ซึ่งก็คงจะทำให้มันปวดแสบปวดร้อนพอสมควร จึงกระโดดหย็องแหย็งไปทั้งจาน เวลารับประทานก็จะเปิดฝาครอบ แล้วก็ตักกุ้งที่กระโดดหย็องแหย็งนั่นแหละ ใส่ปากอย่างเอร็ดอร่อย ทุกวันนี้เวลานึกถึงเชียงราย ผมจึงมักจะนึกถึง "กุ้งเต้น" กับเพลง "เชียงรายรำลึก" ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวไว้พูดถึง "เชียงรายรำลึก" ผมเพิ่งจะอ่านข้อเขียนของอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายท่านหนึ่งในหนังสือ "ต่วย'ตูน" เล่มล่าสุด ท่านเขียนถึงเพลงนี้เอาไว้ด้วย ผมก็เลยอยากจะนำมาเล่าต่อเพราะท่านบอกไว้ว่า แม้จะไพเราะมาก แต่ก็เป็นเพลงที่มีอาถรรพณ์พอสมควรทีเดียว อดีตผู้ว่าฯเชียงรายท่านนี้ก็คือ คุณสุเมธ แสงนิ่มนวล ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน ท่านเล่าว่าผู้แต่งเพลงเชียงรายรำลึก ได้แก่ คุณโกวิท เกิดศิริ ซึ่งเป็นนักดนตรีของวงดนตรีโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ในสมัยโน้นคนร้องเพลงนี้เป็นคนแรก ได้แก่ คุณอุทัย วงศ์วาล ซึ่งเป็นพนักงานขับรถของโรงพยาบาลนั่นเอง ทุกวันนี้ทั้ง 2 ยังมีชีวิตอยู่ แต่เฒ่าชะแรแก่ชราไปมาก โดยเฉพาะผู้แต่งเพลงคุณโกวิทนั้น ดูเหมือนจะย้ายไปอยู่ที่พัทลุงแล้วท่านอดีตผู้ว่าฯเชียงรายเล่าถึงอาถรรพณ์ของเพลงนี้ว่า เป็นเพลงเศร้า... ลูกน้องเคยมาบอกท่านและขอให้ท่านอย่าร้องเพลงนี้...เพราะผู้ว่าฯที่ชอบร้องเพลงนี้มักจะถูกย้ายอย่างรวดเร็วจริงหรือไม่จริง ก็ให้ดูสถิติล่าสุดเนี่ย เชียงรายใช้ผู้ว่าฯเปลืองมาก โดยใช้ถึง 7 คนในเวลาแค่ 5 ปีเท่าที่สืบๆดูก็ปรากฏว่า ผู้ว่าฯเชียงรายที่ถูกย้ายมักจะชอบร้องเพลงนี้กันทุกคน รวมทั้งตัวท่านสุเมธเองด้วย อยู่เชียงรายแค่ 1 ปี 6 เดือน ก็ถูกย้ายเข้ากรุกระทรวงมหาดไทยซะแล้ว โดย: ซูม http://www.thairath.co.th/column/pol/hehapatee/159400ต้องออกเดินทางกันตั้งแต่เช้าเลยครับ ตื่นตั้งแต่ตอน ตี 4 กว่าๆ อาบน้ำแล้วขับรถมาจอดที่ทำงาน นั่งแท๊กซี่จากลาดกระบังไปสุวรรณภูมิ แล้วนั่ง Shuttle Bus ฟรีไปดอนเมืองครับ เพื่อความประหยัด รถจอดที่ชั้น 2 ประตู 2 ครับ ไปถึงสุวรรณภูมิชั้น 4 แล้วเดินลงบันใดเลื่อนไปชั้น 2 ครับ ไปถึงรถกำลังจะออกพอดี ตอนแรกรถบอกจะออกไปแล้ว แต่เห็นวิ่งมาพอดีเลยรอ เจ้าหน้าที่บนรถขอดูตั๋วโดยสารเครื่องบิน ผู้โดยสารบนรถน่าจะราวๆ 5 คนครับ วิ่งขึ้นทางด่วน ใช้เวลาทั้งหมดไม่นานครับ ก็ถึงดอนเมืองแล้ว        
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เมืองแมน
ถูกแบนถาวร
Hero Member
  
คะแนนความรัก: +473/-236
ออฟไลน์
กระทู้: 3,037
|
เฮียป๋องพาเมืองแมนซิ่งเชียงราย
ส่วนพ่อใหญ่เปี๊ยกกระโดดซ้อนท้ายสาวน้อยทันที 55+
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ก.ไก่
นอริชซิตี้ไม่เป็นรองใคร
Thailandsusu
Hero Member

คะแนนความรัก: +2009/-1939
ออฟไลน์
กระทู้: 17,462
ไม่เหมาะสม
|
พ่อใหญ่ได้ค่าเครื่องบินคืนหรือยังครับ แฮ่ๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
แอบดูที่รูเดิม_SR
Thailandsusu
Hero Member

คะแนนความรัก: +574/-359
ออฟไลน์
กระทู้: 7,878
เรารัก ชลบุรี
|
ได้ข่าวว่าดูบอลกันสนุกมากๆเลย ใช่ปะ ลูกพี่ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
TheFootball
|
เฮียป๋องพาเมืองแมนซิ่งเชียงราย
ส่วนพ่อใหญ่เปี๊ยกกระโดดซ้อนท้ายสาวน้อยทันที 55+
เลวจริงๆ เมืองแมน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
TheFootball
|
พ่อใหญ่ได้ค่าเครื่องบินคืนหรือยังครับ แฮ่ๆ
อาจจะได้คนละ 10 เท่าที่จ่ายไปครับ ค่าเครื่อง ค่าห้อง ค่ากิน ค่าอื่นๆ สรุปอาจจะได้สักคนละ 3-4 หมื่นครับ 555
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
TheFootball
|
ได้ข่าวว่าดูบอลกันสนุกมากๆเลย ใช่ปะ ลูกพี่  ได้ดูบอลมันส์มากๆ คนเต็มสนามเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
Leoman
ถูกแบน-ห้ามเข้าบอร์ดชั่วคราว
Sr. Member
คะแนนความรัก: +261/-711
ออฟไลน์
กระทู้: 1,544
|
เดี๋ยวโผล่ บุรีรัมย์ เดี๋ยวโผล่เชียงรายไปทั่วเลยน้าเปี๊ยก
อิจฉา คนได้เที่ยว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
TheFootball
|
เดี๋ยวโผล่ บุรีรัมย์ เดี๋ยวโผล่เชียงรายไปทั่วเลยน้าเปี๊ยก
อิจฉา คนได้เที่ยว
ครับ ทุกคนย่อมมีความฝันของตัวเองหมดแหละครับ แต่มีไม่กี่คนที่ชอบเดินไปหาฝัน ไปตามฝันของตนเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เด็กเหนือ
Thailandsusu
Hero Member

คะแนนความรัก: +219/-58
ออฟไลน์
กระทู้: 3,164
ช่วยกันเชียร์เชียงรายน่ะครับ
|
ไว้โอกาสหน้ามาเที่ยวเชียงรายอีกนะครับ ^___^ ปล. โรงแรมเบนเกสเฮ้าท์ เป็นของพี่บุ๊คหรือคุณบุ๊ค แฟนบอลเชียงรายยูไนเต็ดพันธ์แท้อีกคนนึงเลยครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
TheFootball
|
ไว้โอกาสหน้ามาเที่ยวเชียงรายอีกนะครับ ^___^ ปล. โรงแรมเบนเกสเฮ้าท์ เป็นของพี่บุ๊คหรือคุณบุ๊ค แฟนบอลเชียงรายยูไนเต็ดพันธ์แท้อีกคนนึงเลยครับ  ครับไว้มีโอกาสจะแวะไปอีกครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
TheFootball
|
เราวิ่งผ่านห้าแยกพ่อขุนมาแล้วครับ ผ่านวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย ผ่านพิพิธภัณฑ์ชาวเขา ผ่านสวนตุง นี่ตามที่ผมศึกษาแผนที่มาก่อน เพื่อที่จะไปหน้าไนท์บาร์ซ่าร์ครับ       
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
bbb_zaitama
Thailandsusu
Hero Member

คะแนนความรัก: +1890/-947
ออฟไลน์
กระทู้: 17,157
คิดถึงเธอทุกที ที่อยู่คนเดียว
|
ว่าอยู่ เก๊สต์เฮ้าส์ ชื่อคุ้นๆ เคยไปใช้บริการมาแล้ว คืนนึง นี่เอง สมัย เชียงราย ยูไนเต็ด ยังแข่ง ด.2 ปี 2009 อิอิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Bird_นารีสะท้านตอม่อ_AV071
ไม่มีอะไรบนโลกนี้ถูกใจเราเสมอ มีแต่เราชอบและไม่ชอบมันก็เท่านั้น
Thailandsusu
Hero Member

คะแนนความรัก: +3328/-10051
ออฟไลน์
กระทู้: 30,335
วันนี้คุณกดลบ - ผมแล้วหรือยัง
|
เคยชวนซักคำบ้างไหม โทรหากันมีแต่ทวงงาน ไม่เคยชวนเที่ยวบ้างเลย ฮรี่ ๆ ๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
TheFootball
|
มาแวะที่ไนท์บาร์ซาร์ก่อน เชียงรายจ๋า ฉันมาแล้ว แวะหาคุณแบ็งค์ก่อนที่นี่เชียงรายแชมป์ผม โทรติดต่อกันเรื่อยมาก่อนที่จะทราบว่าผมจะเดินทางมา แวะทักทายกันพอหอมปากหอมคอก่อน ที่ร้านเชียงรายโฟกัส ซึ่งเป็นร้านของคุณคม คุณเพชร แฟนบอลเชียงราย เราแวะเปลี่ยนเป็นมอเตอร์ไซต์ที่นี่ มีโอกาสก็ไปอุดหนุนกันนะครับ หน้าไนท์ คุณเพชรให้เฮียป๋อง น้องชาย ซึ่้งเป็นแฟนบอลเชียงรายเหมือนกัน เอารถไปส่งที่พัก เอาไปสองคันเพืีอให้เราเอาไว้ใช้ 1 คัน เฮียป๋องพาเมืองแมนซิ่งเชียงราย       
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
TheFootball
|
จากที่นี่ เราจะไปที่สันโค้งน้อย ซอย 4 ครับ เป็นที่ตั้งของเบ็น เก๊สท์เฮาส์ ที่เราได้จองและก็จ่ายเงินล่วงหน้าไว้ก่อนหน้าแล้ว เอามอเตอร์ไซต์ไปสองคัน เพื่อที่ว่า จะได้ให้เราสองคนเอาไว้ใช้หนึ่งคัน และอีก หนึ่งคันที่ไปส่ง จะได้ขี่กลับมาได้ ซึ้งน้ำใจแฟนบอลเชียงรายจริงๆ ครับ ตั้งแต่คราวที่แล้วแล้ว และคราวนี้ที่เราจะเข้าเมืองเองโดยแท๊กซี่ก็ไม่ยอมอีกจะไปรับให้ได้ ขอบคุณอีกครั้งครับ ___/\___ ไปโลดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด         
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กว่างพันธุ์บ้า เชียงรายยูไนเต็ด
Thailandsusu
Hero Member

คะแนนความรัก: +350/-151
ออฟไลน์
กระทู้: 4,309
|
ผมขอก็อปรูปบางรูปนะครับพี่ ขอบคุณมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
Pickaro the kop
Thailandsusu
Hero Member

คะแนนความรัก: +151/-145
ออฟไลน์
กระทู้: 3,768
You 'll never walk alone thailand susu!!
|
น่าไปเยือนมากๆครับ อยากไป United stadium สักครั้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
เชียร์ทีมชาติไทย เพราะภูมิใจในความเป็นไทย และเชื่อมั่น ศรัทธา ทีมชาติไทย
|
|
|
TheFootball
|
ว่าอยู่ เก๊สต์เฮ้าส์ ชื่อคุ้นๆ เคยไปใช้บริการมาแล้ว คืนนึง นี่เอง สมัย เชียงราย ยูไนเต็ด ยังแข่ง ด.2 ปี 2009 อิอิ
ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
TheFootball
|
เคยชวนซักคำบ้างไหม โทรหากันมีแต่ทวงงาน ไม่เคยชวนเที่ยวบ้างเลย ฮรี่ ๆ ๆ
อ้าว ไอ้นี่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
TheFootball
|
ผมขอก็อปรูปบางรูปนะครับพี่ ขอบคุณมากครับ
ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
TheFootball
|
เฮียป๋อง กับน้องสาวที่พาซิ่ง กลับไปแล้ว ร้านโฟกัสเชียงราย ให้เอารถไว้ใช้ 1 คันครับ เรามาถึงราวๆ 10 โมงเศษๆ ก็เช็คอินเข้าได้เลย เราเช็คอินแล้ว ก็ขอนอนพักผ่อนเอาแรงก่อน เพราะด้านนอกแดดแรง กอรปกับเมื่อคืนเราสองคนนอนดึก แล้วตื่นตั้งแต่เช้ามืดมากๆ นอนเอาแรงสัก ชั่วโมงได้ดีนักแล สภาพภายในห้องครับ ตามที่เห็นนั่นแหละ ที่นี่ ฝรั่งพักทั้งนั้นเลยครับ สระว่ายน้ำ ฝรั่งตรึม ที่นี่ผมเคยจะมาพักหนหนึ่ง ปรากฎว่า วอล์คอินแล้วเต็ม เห็นแล้วน่าพัก คราวนี้จึงไม่พลาด นอนพักผ่อนเสร็จก็ตื่นออกมาซิ่งกันต่อครับ แมนซิ่งโลดแมน เป้าหมายแรกน้ำเงี้ยวป้าสุข อยู่ระหว่าง สันโค้งน้อย ซอย 4 กับสันโค้งน้อย ซอย 5 หรือพูดง่ายๆ ออกมาจากเบ็นเกสต์เฮาส์ โผล่มาที่ สันโค้งน้อย ซอย 4 ให้เลี้ยวขวา ไปอีกสัก 20 เมตรได้ แล้วชิดขวาโลด เพราะร้านอยู่ด้านขวามือ ถ้าเป็นรถยนต์ เลี้ยวขวาแล้วจอด เดินข้ามถนนมาที่ร้านก็ได้           
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
TheFootball
|
แล้วเราจะไปไหนกันดีล่ะทีนี้ เอางี้ แวะไปย่านกลางเมืองก่อน เมืองแมนเป็นคนพาซิ่ง ผมเป็นคนถือแผนที่ ที่ปริ็นต์มาจาก Google และระบุจุดด้วยปากกามาเรียบร้อยแล้ว ผ่ากลางเมืองก่อนเลยแมน จะไปยากอะไร ถ้าหลงก็ถามชาวบ้านก็สิ้นเรื่องไม่ต้องไปอาย ทางอยู่ทีปากนี่แหละ จำไว้ จุดที่เราอยู่ http://wikimapia.org/#lang=en&lat=19.901639&lon=99.823376&z=17&m=mวิ่งกลับขึ้นไปตามถนนสันโค้งน้อย ไปทางถนนสถานพยาบาล ที่เมื่อก่อนผมเดินหาร้านเน็ตนี่แหละ ผ่านไปเรื่อยๆ ไม่ไกล ผ่านวิทยาลัยเทคนิคเชียงรายด้านซ้ายมือ ผ่านไปหน่อย เจอสี่แยกแล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนน สนามบิน ตรงไปเลย     
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
TheFootball
|
วิ่งผ่านสี่แยกมา ด้านซ้ายมือ เจอวัดมิ่งเมือง มองเข้าไปแล้วสวยมาก เลยบอกเมืองแมน จอด ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ สถานที่ตามนี้ครับ ที่ตั้ง http://wikimapia.org/#lang=en&lat=19.907278&lon=99.828601&z=17&m=mวัดมิ่งเมืองสถานที่ตั้งวัดมิ่งเมือง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๙๖ ถนนไตรรัตน์ ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค ๖ อาณาเขตพื้นที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๓ งาน ๔๐ ตารางวา ทิศเหนือ ติดกับถนนส่วนบุคคล ทิศใต้ ติดกับถนนบรรพปราการ (แต่เดิมเป็นแนวกำแพงเมืองเก่า)อยู่ด้านตรงข้ามโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ทิศตะวัดออก ติดกับถนนไตรรัตน์ ทิศตะวันตก ติดกับมูลนิธิสาธารณกุศลสงเคราะห์จังหวัดเชียงราย ประวัติวัดมิ่งเมือง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ เดิมเป็นวัดไทยใหญ่ มีอายุเท่ากับเมืองเชียงราย คือประมาณ 800 ปี เนื่องด้วยในสมัยก่อนมีชุมชนไทยใหญ่อาศัยอยู่รอบบริเวณวัด ประกอบกับมีศิลปะศาสนสถานและศาสนวัตถุแบบพม่า จึงถูกเรียกขานว่าเป็น วัดเงี้ยว แต่ชื่อที่ชาวเชียงรายรู้จักกันแพร่หลายคือ วัดจ๊างมูบ เป็นภาษาเหนือ แปลว่า วัดช้างหมอบ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และคำบอกเล่าของคนโบราณ วัดนี้มีความสำคัญเกี่ยวกับช้างคู่บารมีของพ่อขุนเม็งรายมหาราช แห่งราชอาณาจักรล้านนา องค์มหาราชลำดับที่ ๒ ของประวัติศาสตร์ไทย กล่าวคือ ในพิธีการเคลื่อนขบวนแห่พระแก้วมรกตออกทักษิณาวรรต รอบเมืองเชียงรายทางสถลมารค ในวันสำคัญทางประเพณี เช่น วันสงกรานต์ หรือ ปีใหม่เมือง จะมีการจัดเตรียมสถานที่ให้พญาช้างคู่บารมีของพ่อขุนเม็งรายมหาราชมาหมอบรอเทียบที่วัด เทินบุษบกเพื่อรับพระแก้วมรกต ที่แห่มาด้วยขบวนเสลี่ยง จากวัดพระแก้ว ซึ่งอยู่ห่างจากวัดไปทางทิศเหนือ 200 เมตร ปัจจุบันได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์โบราณศิลปะไทยใหญ่ พระอุโบสถและพระวิหารไม้ลายคำศิลปะล้าน ของวัดมิ่งเมืองอย่างถูกต้องตามหลักพุทธศิลป์ล้านนาและทัศนศิลป์เชิงโบราณคดี ระหว่างการบูรณะได้ขุดค้นพบลายอักษรโบราณจารึกบนแผ่นเงินเป็นภาษาพม่า กล่าวถึงประวัติผู้สร้างเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อสืบค้นจากพงศาวดาร จึงทำให้ทราบว่า ผู้สร้างวัดมิ่งเมือง คือ เจ้านางตะละแม่ศรี เป็นมเหสีของพ่อขุนเม็งรายมหาราชซึ่งพระนางมีเชื้อสายกษัตริย์จากเมืองหงสาวดี ในวัดมิ่งเมืองยังคงมีโบราณสถานและโบราณวัตถุปรากฏอยู่หลายอย่าง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นศิลปะผสมระหว่างพม่าและล้านนา และมีปูชนียวัตถุสำคัญคือ พระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐาน ณ พระเจดีย์โบราณ ที่ได้รับการประธานจาก สมเด็จพระญาณสังวรณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดมิ่งเมืองอยู่ติดสถานที่สำคัญทางโบราณคดีของจังหวัดเชียงราย เป็นประตูเมืองเก่าของเมืองเชียงราย คือ ประตูไก่ดำ หรือประตูขัวดำ หรือประตูเจ้าพ่อสันป่าแดง ซึ่งคนเชียงรายเรียกยังคงเรียกบริเวณสี่แยกที่ถนนบรรพปราการตัดกับถนนไตรรัตน์ว่า สี่แยกขัวดำ ที่บริเวณประตูวัดด้านทิศตะวันออก มีบ่อน้ำโบราณ ชื่อ น้ำบ่อจ๊างมูบ ศิลปะแบบไทยใหญ่ มีซุ้มครอบไว้เป็นประติมากรรมปูนปั้นรูปช้างหมอบ เชื่อกันว่าบ่อน้ำนี้เป็นบ่อน้ำโบราณที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นแหล่งน้ำที่ใช้อุปโภคบริโภคของผู้คนโบราณที่สัญจรเข้าออกเมือง ได้มาพักกายบริเวณประตูเมืองเพื่อดื่มน้ำและล้างหน้าให้เกิดสิริมงคลก่อนจะเริ่มเดินทางออกหรือเข้าสู่เมืองเชียงราย ประวัติความเป็นมาโดยละเอียดวัดมิ่งเมือง หรือวัดช้างมูบ เดิมมีชื่อเรียกตามที่ปรากฏบนแผ่นทองคำจารึกอักษรพม่าว่า วัดตะละแม่ศรี ซึ่งเป็นชื่อของผู้สร้างวัดมีนามว่า เจ้านางตะละแม่ศรี เป็นพระมเหสีของพ่อขุนเม็งรายมหาราช มหากษัตริย์แห่งแคว้นล้านนาผู้สร้างเมืองเชียงราย เจ้านางตะละแม่ศรี ทรงมีอีกพระนามหนึ่งที่ปรากฏในแผ่นจารึกคือ มหาเทวีอุษาปายะโค พระนางเป็นธิดาของพระเจ้าพายุเจ็งกษัตริย์พม่าเจ้าเมืองพะโค (หงสาวดี) ซึ่งได้มอบถวายให้เป็นข้าบาทบริจาริกาแด่พ่อขุนเม็งรายมหาราชเมื่อทรงชนะสงครามจากพม่า และวัดแห่งนี้ยังเป็นวัดประจำพระองค์ของพระนางอั๊วะมิ่งจอมเมือง (พระนางเทพคำกล๋าย-พระนางอั๊วะมิ่งไข่ฟ้า หรือพระนางอกแอ่น ซึ่งเป็นวีรสตรีของชาวไทยลื้อที่ได้ปลอมตัวเป็นชายออกสู้รบจนได้รับชัยชนะ) พระนางอั๊วะมิ่งจอมเมือง ทรงเป็นพระราชชนนีของพ่อขุนเม็งรายมหาราช พระนางจะเสด็จมาทรงปฏิบัติธรรมที่วัดแห่งนี้เป็นประจำ และในตำนานของวัดที่ปรากฏในรัชสมัยของพ่อขุนเม็งรายมหาราช พระนางจะเสด็จมาประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาที่วัดมิ่งเมืองปีละสองครั้งคือในคืนวันเพ็ญวิสาขบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ และในคืนวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง หรือประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา ทรงจุดผางประทีปบูชาพระเจดีย์ศรีมิ่งเมืองในวัด ซึ่งปัจจุบันเป็นที่บรรจุพระอัฐิของพระนางเทพคำกล๋ายและพระอัฐิของมหาเทวีอุษาปายะโค นอกจากนี้วัดมิ่งเมือง ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดช้างมูบ (วัดช้างหมอบ) ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวเชียงรายทั่วไปเรียกและทางวัดมิ่งเมืองก็ใช้รูปช้างมูบเป็นสัญลักษณ์ของวัดมิ่งเมือง เป็นวัดที่ได้รับการบันทึกให้เป็นวัดเก่าแก่สำคัญทางประวัติศาสตร์วัดหนึ่งของเมืองเชียงราย ในครั้งที่ที่พระเจ้าสามฝั่งแกนอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเชียงรายไปเชียงใหม่โดยอัญเชิญพระแก้วมรกตตั้งขบวนจากวัดพระแก้ว เชียงราย มาประดิษฐานบนหลังช้างทรงซึ่งหมอบรออยู่หน้าวัดมิ่งเมืองแล้วเคลื่อนขบวนออกจากประตูเมืองที่ติดกับวัดไปเมืองเชียงใหม่จึงทำให้ชาวบ้านเรียกว่าวัดช้างมูบตั้งแต่นั้นมา เมื่อเข้าสู่ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ พระยาจ่าบ้านและพระยากาวิละ ได้ทำการต่อสู้กับพม่า เรียกว่า ฟื้นม่าน โดยได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสินมหาราช) ให้ขจัดอิทธิพลของพม่าออกไปจากล้านนา ซึ่งขณะนั้นพม่าได้ใช้เมืองเชียงแสนเป็นฐานที่มั่นในการรบ ในปี พ.ศ. ๒๓๔๗ พระยากาวิละได้ยกทัพได้ยกทัพไปตีเมืองเชียงแสนได้ หลังจากที่เคยโจมตีมาหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ เมื่อสามารถยึดเมืองเชียงแสนได้จึงเผ่าทำลายเมืองขับไล่กองทัพพม่าออกจากเมืองเพื่อมิให้พม่าใช้เป็นฐานกำลังได้อีกต่อไปและพระยากาวิละก็ได้กวาดต้อนผู้คนครัวเรือนจากเมืองเชียงแสน และหัวเมืองรายทาง เพื่อมิให้กลับไปเป็นกำลังไพร่พล แรงงานทั้งทางการทหารเป็นเมืองร้าง อันรวมถึงเมืองเชียงราย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๗-๒๓๔๗ ไทยสู้รบกับพม่าทำให้เมืองในอาณาจักรล้านนา รกร้าง ผู้คนระส่ำระสาย แม้แต่เมืองเชียงใหม่เองก็ถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้างถึง ๒๐ ปี ส่วนเมืองเชียงรายเองก็เป็นเมืองร้างนานเกือบ ๔๐ ปี ภายหลังจากความยุ่งยากของสงครามเมื่อเมืองสำคัญในล้านนา เช่น เมืองลำปาง เมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ มีความมั่นคงดีแล้ว เจ้านายเชื้อสายตระกูลเจ้าเจ็ดตนนำโดย พระยากาวิละ (ที่กลายเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่) ซึ่งสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงโดยการดำเนินนโยบาย เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง (ซ้า แปลว่า กระเช้า)กวาดต้อนประชาชนและครัวเรือนมายังเมืองเชียงใหม่ ก็เริ่มขยายอาณาเขตและฟื้นฟูเมืองต่างๆ ที่รกร้างว่างเปล่าโดยให้บุตรหลานไปเจ้าเมืองปกครอง เมืองเชียงรายได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง ในสมัยเจ้าหลวงธรรมลังกา ซึ่งเป็นเจ้าเมืององค์แรกมีฐานะเป็นเมืองบริวารของเชียงใหม่ มีการบูรณะบ้านเมืองที่รกร้างและซ่อมแซมปฏิสังขรณ์วัดตลอดจนกำแพงเมือง ต่อมาเมื่อมีการขยายเมืองออกไปนับ จึงมีการก่อสร้างต่อมาทางด้านทิศใต้ จนกระทั่งด้านทิศตะวันตกคือประตูเชียงใหม่สำเร็จลงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๗ รวมเวลาที่ก่อสร้างนานถึง ๑๗ ปี มีการสมโภชเมืองและเสาหลักเมืองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ กำแพงเมืองและประตูเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยนี้ เป็นบริเวณอนุรักษ์เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก ครั้งที่พญาเม็งรายสร้างเมืองพุทธศักราช ๑๘๐๕ ไม่ปรากฏมีบันทึกบอกไว้ว่าประตูเมืองมีกี่ประตูและชื่อประตูอะไรบ้าง ในสมัยต่อมาคงมีการสร้างกำแพงเมืองพร้อมประตูขึ้นอีกหลายครั้งแต่ก็ไม่ปรากฏว่าเมืองเชียงรายมีกี่ประตู จนถึง พ.ศ. ๒๔๐๐ หลังจากเจ้าหลวงธรรมลังกาเริ่มบูรณะชื่อของประตูมีปรากฏหลายประตูจนสร้างแล้วเสร็จในสมัยเจ้าหลวงอุ่นเรือน พ.ศ. ๒๔๑๖ จึงทราบว่าช่วงนี้ประตูเมืองเชียงรายมี ๑๒ ประตู คือประตูสรี ประตูนางอิง ประตูเชียงใหม่ ประตูยางเสิ้ง ประตูท่านาค ประตูเจ้าชาย ประตูท่าทราย ประตูหวาย ประตูท่อ ประตูป่าแดง ประตูล่อ หรือประตูขะต๊ำ และประตูผีหรือประจูฮ่อม ซึ่งการทำประตูในสมัยโบราณนั้นน่าจะทำตามหลักทักษา คือก่อนที่จะกำหนดความกว้างยาวของเมืองต้องแทรกวัดระยะว่าประตูจะอยู่ตรงไหน เพื่อให้ถูกต้องตามหลักทักษา อันได้แก่ บริวาร อายุ เดช ศรี มูลละ อุตสาหะ มนตรีและกาลกิณี ช่องไหนที่ตรงกาลกิณี ก็มักจะทำเป็นประตูสำหรับเอาศพออกจากเมืองไปสุสาน เชื่อกันว่าถ้าสร้างประตูถูกต้องตามหลักความเชื่อ จะทำให้บ้านเมืองมั่นคงถาวรเป็นที่หวั่นเกรงของศัตรู วัดมิ่งเมืองนี้เป็นวัดที่ตั้งอยู่ตรงประตูเมืองที่เรียกกันว่าประตูป่าแดงซึ่งตรงกับหลักทักษา คือ อุตสาหะ ในประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรเล่ม ๘ กล่าวว่า วัดมิ่งเมืองสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ ซึ่งอาจเป็นได้ว่า วัดมิ่งเมืองได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในปีนี้โดยกลุ่มชาวไทใหญ่ที่ถูกกวาดต้อนมาจากนโยบายเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง เพราะจะพบว่าก่อนที่จะซ่อมแซมวัดมาเป็นรูปแบบอย่างเช่นรูปทรงดั้งเดิมของสิ่งก่อสร้างภายในวัดเป็นรูปทรงไทใหญ่ทั้งหมด พบภาพวาดศิลปะพม่า ภาพวาดอดีตพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์และพระพุทธรูปไม้แกะสลักอีกหลายองค์ ที่เป็นศิลปะพม่าในช่วงแรกที่สร้างวัด นอกจากนั้น พิธีกรรมของวัดบางอย่างในปัจจุบันก็ยังมีลักษณะแบบชาวไทใหญ่หลงเหลืออยู่ วัดมิ่งเมืองได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ โบราณสถานและโบราณวัตถุในวัดองค์พระประธาน เป็นพระพุทธรูปปั้น ลงรักปิดทองทั้งองค์ เป็นศิลปะเชียงแสนสิงห์ ๑ ซึ่งได้ทำการซ่อมแซมมาถึง ๔ ครั้งมีอายุถึง ๔๐๐ กว่าปี ซึ่งครั้งหลังสุด ช่างที่ก่อสร้างได้เพิ่มขนาดขององค์พระให้ใหญ่ขึ้น โดยมีหน้าตักกว้างขนาด ๘๐ นิ้ว มีนามว่า หลวงพ่อพระศรีมิ่งเมือง ที่มีพุทธลักษณะที่งดงามตามพุทธศิลป์แบบเชียงแสนสิงห์ ๑ ยุคต้นโดยเฉพาะที่ยอดพระเกตุโมฬีเป็นรูปดอกบัวตูมแกะสลักจากหินแก้วจุยเจียหรือแก้วโป่งข่าม ซึ่งเป็นหินที่เกิดขึ้นในดินแดนล้านนาเท่านั้น เจดีย์ เป็นปูชนียสถานเก่าแก่ ที่มีคู่มากับวัด เป็นศิลปะแบบล้านนา เดิมก่อนการบูรณะเป็นรูปทรงพม่าทั้งหมด แต่ต่อมาได้รับการบูรณะใหม่ โดยสร้างเจดีย์บริวารตั้งไว้สี่มุม ประดับด้วยฉัตรศิลปะแบบพม่า ชาวบ้านเรียกเจดีย์นี้ว่า พระธาตุมิ่งเมือง นอกจากนี้เจดีย์นี้มีความสำคัญ คือ เป็นที่เก็บรวบรวมประวัติของวัดไว้ วิหาร เป็นวิหารไทใหญ่ประยุกต์ผสมผสานกับรูปแบบของวิหารล้านนา ภายในตกแต่งด้วยลวดลายแกะสลักลงรักปิดทอง ประกอบกับการกรุฝ้าเพดานแบบไตรภูมิและบราลีเป็นรูปหงส์จำนวน ๓๔ ตัว บ่อน้ำ ชาวบ้านทั่วไป เรียกบ่อน้ำนี้ว่า น้ำบ่อช้างมูบ เพราะรูปแบบการก่อสร้างมีหลังคาเป็นรูปซุ้มโขง ประดับด้วยรูปปั้นของช้างทรงเครื่อง ซึ่งหมอบอยู่ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ในสมัยโบราณ บ่อนี้ได้ให้ประโยชน์แก่ชุมชนชาวตลาดเชียงรายเป็นอย่างมากเพราะเป็นบ่อน้ำแห่งเดียวที่อยู่ในบริเวณนี้ ทั้งใช้ตักดื่ม และตักไปขาย และเป็นสถานที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างในเมืองและนอกเมือง เมื่อชาวบ้านเดินทางไกลมาจะเข้าเมือง จะแวะพักดื่มน้ำที่บ่อนี้ก่อน และไปธุระ พอเสร็จธุระและจะออกจากตัวเมืองก็จะแวะพักเหนื่อย และดื่มน้ำที่บ่อช้างมูบก่อนแล้วค่อยเดินทางต่อไป http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87                      
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
TheFootball
|
ผม - ไปไหนกันดีล่ะทีนี้แมน เมืองแมน - จักแหล่ว แล่วแต่สิไป ผม - ฮ่วย ควักแผนที่ออกมา งั้น จุดต่อไป หอนาฬิกา กลับรถไปตรงสี่แยก 30 เมตร นี่ แล้วเลี้ยวซ้าย จัดไปโลดแมนนนนนนนนนนนนนนนนนนนน ชื่อถนนทุกสายตอนนี้เขาลบทิ้งหมดแล้ว สงสัยจะจัดทำใหม่ ชื่อในแผนที่น่ะมี แต่ชื่อในสถานที่จริงๆ น่ะ ลบหมดแล้ว เกือบทั้งเมือง โหพี่ งั้นอย่างนี้ผมแย่ตายเลยนี่ ไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ถนนอะไร ตัดกับถนนอะไร ต้องอาศัยสถานที่สำคัญ แล้วค่อยๆ เทียบ บวก ค่อยมั่ว เออดีเหมือนกัน มันส์ดี จะไปหอนาฬิกาที่นี่ ถนนบรรพปราการ http://wikimapia.org/#lang=en&lat=19.907116&lon=99.830950&z=18&m=mหอนาฬิกาของเมืองเชียงรายมีความสวยงามวิจิตรตระการตาออกแบบโดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ในเวลา 1 ทุ่ม 2 ทุ่ม และ 3 ทุ่ม ของทุกวัน การแสดง แสง สี เสียง จะเริ่มขึ้น เมื่อเข็มยาวชี้ที่เลข 12 โดยใช้เวลา ประมาณ 10 นาที พร้อมกับเปิดเพลงเชียงรายรำลึก ไปพร้อมๆ กันด้วย หอนาฬิกา ตั้งอยู่กลางถนน ภายในตัวเมืองเชียงราย เรียกง่าย ๆ ก็คือ วงเวียนหอนาฬิกา http://www.oknation.net/blog/Tip2/2012/03/12/entry-1 หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ เชียงราย ที่ออกแบบโดย เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ที่มีการบอกเวลาทุกชั่วโมง ในเวลา 19.00, 20.00, 21.00 ทุ่ม ของทุกวันไฟจะเปลี่ยนสี พร้อมกับมีเสียงเพลงเชียงรายรำลึก                  
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
รักบอลไทย_tss07
Thailandsusu
Hero Member

คะแนนความรัก: +416/-32
ออฟไลน์
กระทู้: 2,311
|
ชอบทุกกระทู้และชอบนานแล้ว ขอบคุณครับ +1
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
TheFootball
|
ชอบทุกกระทู้และชอบนานแล้ว ขอบคุณครับ +1
ครับ ยินดีครับ ช่วงนี้เริ่มพอปรับตัวได้แล้ว กลับมาจากสงกรานต์เพิ่งจะว่างนี่เอง และตอนนี้ก็เริ่มคุ้นกับ pantip.com โฉมใหม่แล้ว ดังนั้น จึงเริ่มควบคุมการใช้งานได้แล้วครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
TheFootball
|
จุดต่อไปวัดพระแก้วครับ ต้องผ่านสามแยกหอนาฬิกาเก่าก่อนนะครับ ตามแผนที่นี้นะครับ จากหอนาฬิกาใหม่ถนน บรรพปราการ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสุขสถิต ผ่านสี่แยกที่ตัดกับถนนธนาลัย ตรงไปถึงสามแยกหอนาฬิกา ที่ตั้งหอนาฬิกาเก่า http://wikimapia.org/#lang=en&lat=19.910279&lon=99.830537&z=18&m=bที่ตั้งอยู่สามแยกระหว่างถนนสุขสถิต กับถนนอุตรกิจครับ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนน อุตรกิจ ผ่านกาดหลวงด้านซ้ายมือ ผ่านกำแพงวัดมุงเมืองด้านซ้ายมือ ไปเจอสี่แยก ตรงโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม แล้วเลี้ยวขวาตรงสี่แยกนี้ เข้าถนนไตรรัตน์ วิ่งไปผ่านสี่แยก แล้วสังเกุตด้านซ้ายมือ วัดพระแก้วอยู่ด้านซ้ายมือ ที่ถนนไตรรัตน์นี้แหละครับ ชื่อถนนไม่มี มั่ว บวก ดูแผนที่แล้วคาดการณ์เอาว่าน่าจะใช่ และก็ดันมั่ว + คาดการณ์ถูกด้วย นั่งด้านหลังดูแผนที่แล้วบอกทางคนขับ ตรงไป เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา แยกหน้าจะไปทางไหน ที่ตั้งวัดพระแก้ว http://wikimapia.org/#lang=en&lat=19.911686&lon=99.828086&z=18&m=mหอนาฬิกาเจียงฮาย อีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์หอนาฬิกาเจียงฮาย ในยุคสมัยหนึ่ง เมื่อ 40 กว่าปีที่ผ่านมา เราจะพบว่ามีการสร้างหอนาฬิกา เกิดขึ้นในแทบทุกหัวเมือง จังหวัดใดไม่มีหอนาฬิกา ก็ดูเหมือนว่าจะอ่อนด้อย และเชย ในความรู้สึกของประชาชนพลเมือง ไม่ทราบว่าหลายท่านจะคิดอย่างผู้เขียนหรือเปล่า เชียงรายเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีหอนาฬิกา ตั้งตระหง่านอยู่ตรงสี่แยกประตูหวาย ซึ่งปัจจุบันถ้าพูดว่า สี่แยกประตูหวาย คนเจียงฮาย ไม่ค่อยจะรู้จักเสียแล้ว ต้องบอกว่า สี่แยกหอนาฬิกา ซึ่งหากจะสืบสาวราวเรื่อง ก็จะกลายเป็นประวัติศาสตร์บันทึกไว้ในหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของเจียงฮาย ทีเดียว ในราวๆ ปี พ.ศ.2510 เชียงรายได้สร้างหอนาฬิกาขึ้นเป็นครั้งแรก แต่รูปทรงไม่ได้เป็นเช่นที่เห็นนี้ จากคำบอกเล่าของลุงปิง หอนาฬิกาครั้งแรก มีรูปแบบง่ายๆ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม ฐานแคบ แต่ด้านบนขยายกว้าง ความสูงประมาณ 4 5 เมตร เท่านั้น และก็มีนาฬิกาแปะไว้ด้านบนทั้ง 4 ด้าน และที่ประหลาดก็คือ เข็มนาฬิกา แต่ละด้านมักจะชี้บอกเวลาไม่เท่ากัน (อิ อิ คงเป็นเรื่องปกติละมัง) ต่อมา ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สโมสรโรตารี่ เชียงราย และร้านถ่ายรูปโกดัก จึงมีการทุบหอนาฬิกา แล้วสร้างใหม่ เป็นรูปทรงอย่างที่เห็น ผู้ที่รับหน้าที่สร้างหอนาฬิกา มีชื่อว่าเสี่ยอ๋า ในสมัยนั้นถนนหนทาง ยังไม่มีรถราพลุกพล่านเช่นในปัจจุบัน วัวควายของชาวบ้าน ก็ยังมานอนดูนาฬิกาอยู่เลย ประชาชนพลเมืองเจียงฮาย ก็พอได้อาศัยดูเวลา อยู่บ้าง แต่วันดีคืนดีนาฬิกา บางด้านมันก็ไม่เดินเสียยังงั้นแหละ เข็มก็ชี้เวลาไม่ตรงกัน จึงดูเหมือนว่าหอนาฬิกา แทนที่จะบอกเวลา กลับกลายเป็นสัญลักษณ์ ชี้บอกสถานที่นัดหมายแทน หอนาฬิกา จึงดูจะเป็นของใหม่ ของชาวเจียงฮาย ประมาณปี พ.ศ.2515 2516 ได้เกิดมีเพลงโฟล์คซองคำเมือง เพลงหนึ่ง ชื่อว่าเพลง สี่แยกหอนาฬิกา เป็นเพลงที่ร้องเล่นกันของวัยรุ่นเจียงฮาย ในยุคนั้น ไม่มีใครที่หัดเล่นกีตาร์ แล้วไม่ร้องเพลง สี่แยกหอนาฬิกา จากคำบอกเล่าของ ขจร วงศ์ชัยพาณิชย์ อดีตนักร้องนักดนตรีโฟล์คซอง วง แม่คำ ผู้ที่แต่งเพลง สาวมอเตอร์ไซค์ ให้ จรัล มโนเพ็ชร นำไปร้องจนโด่งดัง ทำให้ทราบว่า เพลง สี่แยกหอนาฬิกา เป็นผลงานเพลงของวงดนตรีโฟล์คซองของเจียงฮายอีกวงหนึ่งคือ วง คิง & ฮา ซึ่งมีสมาชิกเป็นครูหนุ่ม ๆ วัยรุ่น หลายคน เป็นกลุ่มเชียงแสน มีผลงานเพลงหลายเพลงเป็นที่รู้จักทั่วไปเช่นเพลง สาวป่าบง ปัจจุบันเป็นที่น่าเสียดายที่ทั้งสองวง คือ แม่คำและ คิง & ฮา ต่างก็สลายตัวแยกย้ายกันไป ทั้งที่เมื่อก่อนเป็นวงโฟล์คซอง ที่เคียงบ่าเคียงไหล่กับ จรัล มโนเพ็ชร เลยทีเดียว ปัจจุบัน เทศบาลนครเชียงราย ได้ทุ่มงบประมาณ เพื่อสร้างหอนาฬิกา ใหม่ มอบให้ศิลปิน เอก ของเมืองเจียงฮาย คือ เฉลิมชัย โฆสิตพิพัฒน์ เป็นผู้ออกแบบ ส่วนหอนาฬิกาเก่า ก็ไม่ทุบทิ้ง แต่ได้ใช้กำลังยกย้าย ไปตั้งวางไว้ ณ จุดใหม่ คือบริเวณสามแยกโรงรับจำนำ ตลาดสด ของเมืองเจียงฮาย (คงคิดว่าถ้าไม่มีกะตังส์ ก็เอานาฬิกาจำนำได้ อิอิ) ส่วนหอนาฬิกาใหม่ขณะนี้กำลังก่อสร้างดังภาพที่เห็น แต่ก็ใช้เวลามาหลายปีดีดักแล้ว นับไปนับมาก็เกือบๆ 5 ปีแล้ว ผู้ที่รับหน้าที่เป็นช่างก่อสร้าง ตามรูปแบบของ ลุงเหลิม ก็คือ คุณตุ๋ย เจ้าของร้าน สิทธิวงศ์อาร์ท เป็นร้านรับทำกรอบรูป ซึ่งคุณตุ๋ยนี่เอง เป็นผู้สร้างสรรค์กรอบรูป ใส่ภาพวาดของ ลุงเหลิม และได้สะสมผลงานของ ลุงเหลิม ต้นฉบับฝีมือวาดของลุงเหลิม ไว้มากมายหลายภาพทีเดียว ก็คงมีแนวคิดอยู่ว่า จะให้เจียงฮาย เป็นเมืองต้นแบบของศิลปะ เพราะมีศิลปินเอก ระดับโลก อยู่ในเมืองเจียงฮายตั้งหลายคน มี ลุงหวัน ถวัลย์ ดัชนี เป็นเก๊าเป็นเหง้า ของมวลหมู่ศิลปินเจียงฮาย อีกไม่นานเราคงได้ฉลอง หอนาฬิกา ใหม่ของเจียงฮาย วันนี้เอาเพลง สี่แยกหอนาฬิกา ในแบบโฟล์คซองคำเมือง มาให้ฟังกันก่อนครับ. http://www.oknation.net/blog/print.php?id=261756         
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
TheFootball
|
จากวัดพระแก้ว จุดต่อไปคือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ถนนสิงหไคลครับ ไม่ไกลครับ ออกจากวัดพระแก้ว แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนไตรรัตน์ เจอสี่แยกแล้วเลี้ยวขวา เข้าถนนสิงหไคล วิ่งไปอีกไม่ไกลมาก ราวๆ 150 เมตร ผ่านวัดพระสิงห์ด้านขวามือ ตรงไปอีกหน่อย จะเจอ ททท. อยู่ด้านซ้ายมือ ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ตามแผนที่นี้ครับ http://wikimapia.org/#lang=en&lat=19.912468&lon=99.831149&z=18&m=m 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
TheFootball
|
เอาล่ะสิครับ ทีนี้ วิ่งผ่านหน้าวัดพระสิงห์มาได้หน่อยเดียว ก่อนถึง ททท. รถน้ำมันหมดครับ เมืองแมนบอกผมว่า ให้ผมรอที่นี่ หรือรอที่วัดก็ได้เดี๋ยวผมเข็นไปเติมเอง ผมเลยบอกว่า ไม่เป็นไร เดินไปด้วยกันนี่แหละมาด้วยกันก็ไปด้วยกัน เมืองแมนเลยบอกว่า ไม่เป็นไร ผมเข็นไปคนเดียวก็ได้พี่ พี่ถ่ายรูปรอที่นี่ ผมเลยบอกว่า เอางี้แล้วกัน เข็นไปหน้า ททท. นี่ เดี๋ยวผมเดินขึ้นไปถามเองว่า ปั๊มแถวนี้ใกล้ๆ อยู่ที่ไหน ว่าแล้วก็เข็นไป สัก 20 เมตรเองมั้ง ผ่านหน้าร้านฉำฉา (ฉำฉานี่ถ้าเป็นภาษาอีสานมันคือต้นจามจุรีนี่แหละ ไม่รู้ทางเหนือเรียกเหมือนกันหรือเปล่า คิดว่าน่าจะใช่) พอเข็นไปถึง ผมบอกว่ารอที่นี่นะ เดี๋ยวขึ้นไปถามให้ เมืองแมนบอกว่า เขาไม่เปิดหรอก เห็นไหม ปิดอยู่ ผมเลยบอกว่า เขาจะปิดได้ยังไง ททท. ต้องเปิดวันหยุดสิ เพราะคนเขามาเที่ยวกันวันหยุด เขาก็ต้องมาขอข้อมูลที่นี่ วันธรรมดามีแต่คนท้องถิ่น คนท้องถิ่นเขาก็มีข้อมูลกันอยู่แล้ว ผมเลยบอก ว่ารอตรงนี้แหละ เดี๋ยวขึ้นไปดู เมืองแมนบอก บ่ บ่ บ่เป็นหยังดอก เข็นไปกะได้ ผมเลยต้องรีบขึ้นไปดู          
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
TheFootball
|
ขึ้นไป ททท. ชะเง้อ ชะแง้ดู อ้าว เปิดอยู่จริงๆ ด้วยนี่ ก็เลยถามก่อนเลยว่า แถวนี้มีปั๊มหรือเปล่า ครับ รถมอเตอร์ไซต์น้ำมันหมด น้องเลยถามว่า พี่มาจากไหน มาจากกรุงเทพครับ โอ้วพี่ขับมอเตอร์ไซต์มาจากกรุงเทพเลยเหรอ ผมบอกว่า เปล่าครับ นั่งเครื่องมา แล้วเพื่อนที่เชียงรายเอารถมาให้ใช้ แล้วผมลืมดูน้ำมัน มากันสองคน อีกคนรออยู่ทีข้างล่างนี่ น้องก็เลยเอาแผนที่มาให้ดู พร้อมบอกจุด แต่ก็ค่อนข้างไกล พอได้เสร็จ เดินออกมาดู อ้าว เมืองแมนหายไปแล้ว จึงโทรหา ปรากฎว่า เข็นไปไกลแล้ว ตั้งแต่ผมเดินขึ้นไปโน่น พี่รอที่นั่นหละ เดี๋ยวผมไปเติมเอง จะตามไปก็คงจะไม่ไหว งั้นรอที่นี่ดีกว่า จึงได้สอบถาม และหาข้อมูลจากที่นี่รอเพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เจ้าหน้าที่เอาเอกสาร และแผ่นที่มาให้เพียบ และให้พักรอที่นี่ พร้อมหาถุงให้ใส่เอกสารพร้อมด้วย ขอบคุณมากๆ ครับ Contact Details448/16 Singhaklai Road, Muang District, Chiang Rai 57000 0 5371 7433, 0 5374 4674-5 0 5371 7434 tatchrai@tat.or.thArea of Responsibility:Chiang Rai ,Phayao Opening Hour:08:30-16:30 Services & Facilities:Support tourism for Thai and Foreign visitors by providing brochures on tourism and creating and producing tourism media. http://www.tourismthailand.org/Where-to-Go/Chiang-Rai     
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
TheFootball
|
เมืองแมนมาแล้วเด้อพี่น้อง มารับขวัญเมืองแมนแหน่ เข็นรถไปตั้งไกลโน่นแน่ะ ถึงห้าแยกพ่อขุนเม็งรายมหาราชโน่น แล้วก็เข็นต่อไปอีก เลี้ยวเข้าพหลโยธินไปอีกตั้งไกลกว่าจะหาน้ำมันได้ มาเด้อขวัญเอ้ย มาหาเมืองแมนแหน่เด้อ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%8C_(%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87)วัดพระสิงห์ (พระอารามหลวง)วัดพระสิงห์เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่ ถนนท่าหลวง ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 52 ตารางวา ทิศเหนือติดถนนสิงหไคล ทิศใต้ติดถนนพระสิงห์ ทิศตะวันออกติดถนนท่าหลวง ทิศตะวันตกติดถนนภักดีณรงค์ สันนิษฐานกันว่าน่าจะสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้ามหาพรหม ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้ากือนา ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ ราวปีพ.ศ. 1928 (พระเจ้ามหาพรหมเสวยราชย์ ณ เมืองเชียงราย ระหว่าง พ.ศ. 1888-พ.ศ. 1943) ประวัติวัดพระสิงห์ เป็นพระอารามหลวงเก่าแก่แต่โบราณกาล และเป็นศาสนสถานอันเป็นศูนย์รวมใจของชาวเชียงรายมาอย่างยาวนาน มูลเหตุที่ได้ชื่อว่า วัดพระสิงห์ นั้นเชื่อกันว่า น่าจะมาจากการที่ครั้งหนึ่ง วัดนี้ เคยเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของไทยในปัจจุบัน คือ พระพุทธสิหิงค์ หรือที่เรียกกันในชื่อสามัญว่า พระสิงห์ ตำนานพระสิงห์ผู้รู้บางท่านกล่าวว่า หากพิจารณาถึงคำว่า พระสิงห์ นั้น หมายถึง วัดซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระสิงห์มาก่อน พระสิงห์ เป็นนามพระพุทธรูป อันบ่งบอกถึงคติพระพุทธศาสนาเถรวาทอย่างลังกาวงศ์ตรงกับ พระพุทธสิหิงค์ อันเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่ทางภาคเหนือล้านนาไทย มิได้เรียกว่า พระพุทธสิหิงค์ นิยมเรียกว่า พระสิงห์ ท่านผู้รู้บางท่านพยายามคิดว่า พระสิงห์ หมายถึง สิงหนวัติ กษัตริย์โบราณผู้สร้างเมืองโยนกนครก็มี บางท่านอธิบายว่า หมายถึง พระศากยสิงห์ คือพระนามหนึ่งของ พระพุทธเจ้า กระนั้น เท่าที่พิจารณาโดยตลอดแล้ว เห็นว่า พระสิงห์ ก็ดี พระพุทธสิหิงค์ ก็ดี น่าจะพึงยุติกันได้ว่าเป็นนามของพระพุทธรูป อันบ่งบอกถึงคติพระพุทธศาสนาอย่างลังกาวงศ์ เพราะทุกที่ที่ปรากฏว่ามี พระสิงห์ หรือ พระพุทธสิหิงค์ นั้นแสดงให้เห็นว่า สถานที่เหล่านั้นได้มีพระพุทธศาสนาเถรวาทอย่างลังกาวงศ์แพร่หลายไปถึง ฉะนั้น ควรถือกันว่าพระพุทธรูปที่เรียกพระนามอย่างนี้ เป็นสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนาเถรวาท อย่างลังกาวงศ์ในประเทศไทยและก่อนศตวรรษที่ 20 ขึ้นไป จะไม่พบหลักฐานเช่นนี้เลย พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะล้านนาไทย พุทธศตวรรษที่ 21 มีพุทธลักษณะสง่างาม อย่างยากที่จะหาพระพุทธรูปในสมัยเดียวกันมาทัดเทียมได้ หน้าตักกว้าง 37 เซนติเมตร สูงทั้งฐาน 66 เซนติเมตร ชนิดสำริดปิดทอง ประดิษฐานอยู่บนบุษบกภายในกุฏิเจ้าอาวาส ชาวเชียงรายและประเทศใกล้เคียงในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ถือว่า พระสิงห์ เป็นพระพุทธปฏิที่ทรงความสำคัญ และทรงความศักดิ์สิทธิ์มีมหิทธานุภาพสามารถยังความสงบร่มเย็น และเป็นมิ่งขวัญของชาวประชามาทุกยุคทุกสมัย จนกล่าวกันว่า พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ คือ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเชียงรายและประเทศใกล้เคียง พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยมาอย่างยาวนานมีหลักฐานปรากฏในสิหิงคนิทานบันทึกไว้ว่า สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศักราช 700 ในประเทศลังกา และประดิษฐานอยู่ที่ลังกา 1150 ปี จากนั้นได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานยังราชอาณาจักรไทยตามลำดับ ดังนี้ พ.ศ. 1850 ประดิษฐานที่กรุงสุโขทัย 70 ปี พ.ศ. 1920 ประดิษฐานที่พิษณุโลก 5 ปี พ.ศ. 1925 ประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา 5 ปี พ.ศ. 1930 ประดิษฐานที่กำแพงเพชร 1 ปี พ.ศ. 1931 ประดิษฐานที่เชียงราย 20 ปี พ.ศ. 1950 ประดิษฐานที่เชียงใหม่ 255 ปี พ.ศ. 2250 ประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา 105 ปี พ.ศ. 2310 ประดิษฐานที่เชียงใหม่ 28 ปี พ.ศ. 2338 ประดิษฐานที่กรุงเทพฯ ปัจจุบัน ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุที่สำคัญของวัดพระประธานพระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธปฏิมาศิลปะล้านนาไทย พุทธศตวรรษที่ 21 ปางมารวิชัย ชนิดสำริดปิดทอง หน้าตักกว้าง 204 เซนติเมตร สูงทั้งฐาน 284 เซนติเมตร ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถมีพุทธลักษณะสง่างาม ประณีต ที่ฐานมีจารึกอักษรธรรมล้านนาไทยว่า กุลลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพยากตา ธมฺมา อันหมายถึง ปริศนาธรรมระดับปรมัตถ์ในทางพระพุทธศาสนาที่ระบุว่า สภาวะธรรมทั้งปวงมี 3 ประเภท คือ ธรรมทั้งหลายที่เป็น กุศล ก็มี ธรรมทั้งหลายที่เป็น อกุศล ก็มี ธรรมทั้งหลายที่อยู่นอกเหนือจาก กุศลและอกุศล ก็มี พระอุโบสถพระอุโบสถสร้างขึ้นราวปีพ.ศ. 1251 - พ.ศ. 1252 ปีฉลู-ปีขาล เดือน 8 ขึ้น 12 ค่ำ วันเสาร์ เวลา 12.00 น. (พ.ศ. 2432 ถึง พ.ศ. 2433) รูปทรงเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนาไทยสมัยเชียงแสน โครงสร้างเดิมเป็นไม้เนื้อแข็ง และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ให้มีสภาพสมบูรณ์ และสวยงามยิ่งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2504 และครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2533 โดยพระราชสิทธินายก เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน บานประตูหลวงบานประตูหลวง ทำด้วยไม้แกะสลักจิตกรรมอย่างประณีตวิจิตรบรรจง เป็นปริศนาธรรมระดับปรมัตถ์ ออกแบบโดยศิลปินเอกผู้มีผลงานเป็นที่กล่าวขานในระดับโลก นามว่า อ.ถวัลย์ ดัชนี เป็นเรื่องราวของ ดิน น้ำ ลม ไฟ อันหมายถึง ธาตุทั้ง 4 ที่มีอยู่ในร่างกาย คนเราทุกคน ดิน คือ เนื้อ หนัง กระดูก น้ำ คือ ของเหลวต่างๆ ที่มีอยู่ในร่างกาย เช่น น้ำ โลหิต ปัสสาวะ ลม คือ อากาศที่เราหายใจเข้าออก ลมปราณที่ก่อเกื้อให้ชีวิตเป็นไป ไฟ คือ ความร้อนที่ช่วยในการเผาผลาญอาหารเกิด พลังงาน แนวคิดของ อ.ถวัลย์ ดัชนี ถ่ายทอดธาตุทั้ง 4 ออกเป็นสัญลักษณ์รูปสัตว์ 4 ชนิด เพื่อการสื่อความหมายโดยให้ ช้าง เป็นสัญลักษณ์ของ ดิน นาค เป็นสัญลักษณ์ของ น้ำ ครุฑ เป็นสัญลักษณ์ของ ลม สิงห์โต เป็นสัญลักษณ์ของ ไฟ ผสมผสานกันโดยมีลวดลายไทยเป็นส่วนประกอบ ทำให้มีลีลาเฉพาะแบบของ อ.ถวัลย์ ดัชนี งานแกะสลักบานประตูวิหารนี้ พระราชสิทธินายก เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ได้มอบความไว้วางใจให้ สล่าอำนวย บัวงาม หรือ สล่านวย และลูกมืออีกหลายท่านเป็นผู้แกะสลัก ใช้เวลาในการแกะสลักเกือบหนึ่งปี ได้บานประตูมีขนาด กว้าง 2.40 เมตร ยาว 3.50 เมตร และหนา 0.2 เมตร ด้วยลวดลายและลีลาการออกแบบ และฝีมือการแกะสลักเสลาอย่างประณีตบรรจง นับว่า บานประตูนี้ได้ช่วยส่งเสริมความงดงาม ของพระวิหารได้โดดเด่นมากขึ้น พระเจดีย์พระเจดีย์ เป็นพุทธศิลป์แบบล้านนาไทย สร้างในสมัยเดียวกันกับพระอุโบสถ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้ง คือ พ.ศ. 2492 ครั้งหนึ่ง โดยท่านพระครูสิกขาลังการ เจ้าอาวาสในขณะนั้น และอีกหลายครั้งในสมัยต่อมา โดยท่านเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน พระพุทธบาทจำลองพระพุทธบาทจำลองบนแผ่นศิลาทราย มีขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 150 เซนติเมตร มีจารึกอักษรขอมโบราณ ว่า กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพยากตา ธมฺมา หอระฆังเป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัยแบบล้านนาไทยประยุกต์ มีระฆังเป็นแบบใบระกาหล่อด้วยทองเหลืองทั้งแท่ง ซึ่งหาดูได้ยากมากในปัจจุบัน ขนาดความสูง 25 นิ้ว ยาว 39 นิ้ว หนา 1 นิ้ว ขุดพบบริเวณวัดพระสิงห์ เมื่อ พ.ศ. 2438 ปัจจุบันชั้นล่างใช้เป็นหอกลอง ต้นพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยาพลโทอัมพร จิตกานนท์ นำมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยความอนุเคราะห์จากท่านเอกอัครราชทูตอินเดียและอาศรมวัฒนธรรมไทย-ภารตะ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 และปลูกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2506 ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้นไม้มงคลเนื่องในพระพุทธศาสนา ในฐานที่เป็นต้นไม้ซึ่ง พระโพธิสัตว์ลาดบัลลังก์ประทับในคืนก่อนตรัสรู้ เดิมเรียกกันว่าต้น อัสสัตถพฤกษ์ ที่ได้ชื่อว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ก็เพราะเป็นต้นไม้ อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ โพธิธรรม ของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ ซึ่งต่อมาก็คือ สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้นสาละลังกาต้นสาละลังกาเป็นไม้มงคลเนื่องในพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ คือ เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับสำเร็จสีหไสยาสน์เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมกิตติโสภณ นำมาจากประเทศศรีลังกา และนำมาปลูกไว้ที่วัดพระสิงห์เมื่อ พ.ศ. 2512 เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์วัดพระสิงห์ มีเจ้าอาวาสที่บริหารวัดสืบต่อกันมานับแต่ปีที่สร้างวัด จนปัจจุบันจำนวน 9 รูป คือ ครูบาปวรปัญญา พ.ศ. 1943 - พ.ศ. 1962 ครูบาอินทจักรรังษี พ.ศ. 1962 - พ.ศ. 1985 พระอธิการอินตา พ.ศ. 1985 พระมหายศ พระธรรมปัญญา พ.ศ. 2413 - พ.ศ. 2440 พระครูเมธังกรญาณ (ป๊อก) พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2473 พระครูเมธังกรญาณ (ดวงต๋า) พ.ศ. 2473 - พ.ศ. 2488 พระครูสิกขาลังการ พ.ศ. 2489 - พ.ศ. 2522 พระเทพสิทธินายก (ชื่น ปญฺญาธโร) (ชื่น ปญฺญาธโร -แก้วประภา - ป.ธ.6) เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2523 - ปัจจุบัน http://www.facebook.com/watphrasinghahttp://watphrasingh.wordpress.com/http://thai.tourismthailand.org/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%8C--188                       
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
TheFootball
|
เป้าหมายต่อไปวัดกลางเวียงเด้อแมน เสาหลักเมืองเชียงรายอยู่ในวัดนั่น เดี๋ยวบอกทางเอง ทีนี้ได้แผนที่ใหญ่จาก ททท. มาแล้วไม่ต้องห่วงเห็นทั้งเมือง ขอดูแผนที่ก่อนนิดนึง ได้ละ ออกจากวัดพระสิงห์ ให้เลี้ยวขวาเข้าถนนสิงหไคล ผ่าน ททท. วิ่งไปหน่อย ถึงสี่แยกหน้า เป็นตำรวจเชียงราย นั่นแหละ ให้เลี้ยวขวาเข้าถนน รัตนาเขต วิ่งไปเจอสี่แยก จะเห็นวัดทางขวามือ ตามนี้เด้อแมน สถานที่ตั้งวัดกลางเวียง http://wikimapia.org/#lang=en&lat=19.910733&lon=99.832758&z=18&m=mวัดกลางเวียง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเวียงเชียงราย และเป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองเชียงราย ในสมัยที่เรียกกันว่ายุคสถาปนาเมืองเชียงรายขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2386 หลังจากที่ได้ถูกทับถมทำลายโดยธรรมชาติและรกร้างมาก่อนหน้านี้ เมื่อสร้างแล้วเสร็จมีการเฉลิมฉลองเมืองเชียงรายในปี พ.ศ. 2418 ได้มีการเปลี่ยนจากวัดเดิมคือ วัดจันทน์โลก หรือ จั๋นต๊ะโลก มาเป็นวัดจันทน์โลกกลางเวียง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ กลางเวียง เพราะยุคนั้น วัดนี้คือศูนย์กลางของเวียงเชียงราย เป็นที่ตั้งของ "สะดือเวียงเชียงราย" http://www.annaontour.com/province/chaengrai/wadklangveang.phpวัดกลางเวียง คือวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเวียงเชียงราย มีเสาหลักเมืองเชียงรายตั้งอยู่ สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1975 เดิมชาวบ้าน เรียกว่า วัดจั๋นตะโลก หรือ วัดจันทน์โลก เพราะในวัดเคยมีต้นจันทน์แดงขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ ถือเป็นไม้มงคลใช้บูชาพระตามธรรมเนียมโบราณ จนกระทั่งเมื่อมีการรังวัดเมืองเชียงรายใหม่ และพบว่าวัดแห่งนี้อยู่ใจกลางเมืองพอดี จึงได้สถาปนาสะดือเวียง หรือ เสาหลักเมืองขึ้น ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงราย ตรงสี่แยกระหว่าง ถ. อุตรกิจ ติดกับ ถ. รัตนาเขต ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ประวัติ วัดกลางเวียง คือวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเวียงเชียงราย มีเสาหลักเมืองเชียงรายตั้งอยู่ สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1975 เดิมชาวบ้าน เรียกว่า วัดจั๋นตะโลก หรือ วัดจันทน์โลก เพราะในวัดเคยมีต้นจันทน์แดงขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ ถือเป็นไม้มงคลใช้บูชาพระตามธรรมเนียมโบราณ จนกระทั่งเมื่อมีการรังวัดเมืองเชียงรายใหม่ และพบว่าวัดแห่งนี้อยู่ใจกลางเมืองพอดี จึงได้สถาปนาสะดือเวียง หรือ เสาหลักเมืองขึ้น พร้อมกับเปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดจันทน์โลกกลางเวียง แต่ในปี พ.ศ. 2446 เกิดพายุใหญ่พัดต้นจันทน์แดงหักโค่นลงมา พระอุโบสถและวิหารพังทลาย ต้องบูรณะใหม่ ชื่อวัดจึงเหลือเพียงวัดกลางเวียง ปัจจุบันเสาหลักเมืองเก่าได้ล้มไปนานแล้ว ในปี พ.ศ. 2535 จึงได้สร้างเสาหลักเมืองขึ้นมาใหม่ประดิษฐานอยู่ในมณฑปทรงฟักทองยอดแหลม บริเวณที่ตั้งเสาหลักเมืองเดิม ภายนอกมีรูปปั้นท้าวจตุโลกบาล ทำหน้าที่พิทักษ์สะดือเวียงตามคติความเชื่อของชาวล้านนา ส่วนตำแหน่งที่เคยมีต้นจันทน์แดงอยู่นั้น ปัจจุบันทางวัดได้สร้างเจดีย์ขึ้นรอบฐานมีช้างทรงเครื่องยืนราย ส่วนพระอุโบสถนั้นได้สร้างขึ้นใหม่ตามแบบสถาปัตยกรรมล้านนาประยุกต์ การเดินทาง รถยนต์ส่วนตัว จาก ถ. สิงหไคล หน้าหอวัฒนะธรรม มุ่งหน้าออกจากเมืองเลี้ยวขวาเข้า ถ. รัตนาเขต ผ่านสำนักงานตำรวจภูธร จ. เชียงรายไปประมาณ 200 เมตร ผ่านสี่แยกแรก วัดอยู่ขวามือ ที่มา... จากหนังสือที่ทางวัดแจกให้ที่เป็นที่ระลึกถึงเจ้าอาวาสองค์ก่อนที่ มรนภาพแล้ว http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=10914               
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
TheFootball
|
ต่อไปครับ เสาสะดือเมืองเชียงรายครับ สถานที่ตั้งดังนี้ครับ อยู่ที่วัดพระธาตุดอยจอมทองครับ โน่นแน่ะ อยู่ใกล้ๆ สะพานแม่ฟ้าหลวง ก่อนข้ามแม่น้ำกกครับ ทางไปศาลากลางจังหวัดแห่งใหม่ เปิดแผนที่ศึกษาดูให้รู้ทางแน่ชัดก่อนสักนิด เพื่อให้ข้อมูลเข้าหัวก่อน แล้วก็จับแผนที่กาง ไปดังว่า วางแผนได้ดังนี้ ให้กลับไปเริ่มที่ถนนสิงหไคลแถวๆ ททท. หรือแถววัดพระสิงห์ก่อน คือพูดง่ายๆ ให้ย้อนกลับไปทางเดิมก่อน จะได้แผนการเดินทางดังนี้ บอกคนขับก่อนเพื่อให้ง่ายในการสื่อสาร ได้ดังนี้ ออกจากวัดกลางเวียง เลี้ยวซ้าย ไปตามถนนรัตนาเขต ผ่านแยกไฟแดงก่อน เจอสี่แยก สถานีตำรวจเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสิงหไคล ผ่าน ททท. ผ่านวัดพระสิงห์ วิ่งไปเรื่อยๆ จนเจอสี่แยก ถ้าเลี้ยวซ้ายจะไปวัดพระแก้ว ถ้าตรงไปจะขึ้นเนิน แต่ให้เราเลี้ยวขวาเข้าถนนไกรสรสิทธิ์ ที่นี้ก็วิ่งไปตามโค้งของถนนอย่างเดียว สถานที่ตั้งครับ http://wikimapia.org/#lang=en&lat=19.915207&lon=99.822679&z=17&m=m          
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
ก.ไก่
นอริชซิตี้ไม่เป็นรองใคร
Thailandsusu
Hero Member

คะแนนความรัก: +2009/-1939
ออฟไลน์
กระทู้: 17,462
ไม่เหมาะสม
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
TheFootball
|
เรียบร้อยแล้ว ก็ออกเดินทางไปสนามกีฬากลางจังหวัดเชียงรายกันได้เลยครับ ด้วยความเซียน และมั่วเส้นทาง ผมเป็นคนถือแผนที่ และดูแผนที่ไปด้วย เมืองแมนเป็นคนพาซิ่ง ไปตั้งต้นที่ห้าแยกพ่อขุนก่อนครับ ศึกษาแผนที่ก่อนเดินทางแป๊บเดียว เราก็ออกเดินทาง เราออกไปหน้าปากซอย สันโค้งน้อย ซอย 4 เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสันโค้งน้อย วิ่งไปถึงสี่แยก เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสนามบิน วิ่งไปเรื่อยๆ ถึงสี่แยก เลี้ยวขวาเข้าถนนบรรพปราการ ผ่านหอนาฬิกาใหม่ วิ่งไปเรื่อยๆ จากถนนบรรพปราการ จะกลายเป็นถนนพหลโยธิน วิ่งโค้งซ้ายเข้าพหลโยธิน จะไปบรรจบกับถนนพหลโยธินเส้นใหม่นอกเมือง วิ่งตามพหลโยธินไปนิดเดียว ผ่านถนนหนองสี่แจง ผ่านอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราชด้านซ้ายมือ ตรงห้าแยกพ่อขุน เลี้ยวขวาข้ามถนนพหลโยธินเข้าถนนพ่อขุน วิ่งไปได้สักพัก เราก็เริ่มงงว่ามาถูกทางหรือเปล่าเพราะไม่มีป้ายบอกทางไปสนามกีฬากลาง หรือมีแต่เราไม่เห็นก็ไม่แน่ จึงจอดดูแผนที่อีกที             
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|